สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

การแก้ไขปัญหา ทุเรียนดอกร่วง-ดอกฝ่อ ด้วยโบกาฉิและซูโตจู

(อ่าน 11469/ ตอบ 0)

บัวเหลียว

การแก้ไขปัญหา ทุเรียนดอกร่วง-ดอกฝ่อ ด้วยโบกาฉิและซูโตจู

บทนำ


     บทความต่อไปนี้อาจแตกต่างจากที่ท่านเคยรับทราบสัมผัสมา ศัพทฺภาษา, ข้อมูลทางวิชาการอันลึกซึ้ง เสมือนความรู้ที่ได้นั้นจะนำไปเพื่อการสอบแข่งขัน หรือพูดคุยถกเถียงกันจะไม่มีปรกฎในที่นี้อย่างแน่นอน  แต่จะเป็นแบบสั้นกระชับและง่ายๆไม่เย่นเย้อ วิ่งเข้าตรงจุดที่จะทราบ ,เป็นความรู้ที่เกิดจากการปฎิบัติจริง เห็นผลจริง มีข้อมูลทางวิชาการรองรับแล้วทั้งสิ้นหากต้องการจะทราบจริงก็สามารถค้นคว้าหาทราบได้ในตอนหลัง เพราะทุกสิ่งล้วนมาจากนักวิชาการที่มุ่งการปฎิบัติจริงมาแล้วเกือบ 20 ปี แต่ตัดประเด็นสิ่งปลีกย่อยที่ไม่มีความจำเป็นกับเกษตรกรที่จะทราบอันอาจทำให้เกิดความเบื่อหน่ายและเสียเวลาไป ,สิ่งไดที่ทราบแล้วและเป็นหลักพื้นฐานแบบง่ายๆ เช่น ทานข้าวแล้วให้ดื่มน้ำตาม เราคงไม่ยกมากล่าวกัน


          จึงขอทำความเข้าใจในที่นี้ให้รับทราบโดยทั่วกัน


                                                                                                                           ขอบพระคุณ


 


การแก้ไขปัญหา ทุเรียนดอกร่วง-ดอกฝ่อ


 สาเหตุ :  ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่กล่าวกันทั่วไปว่า เกิดจากเชื้อรา ,เกิดจากต้นทุเรียนขาดสารอาหาร ซึ่งการกล่าวมานั้นอาจถูกต้องทั้งหมด แต่หากเรามาลองตั้งข้อสงสัย.ทำไมราหรือเชื้อโรคเหล่านีจ้ึงทำให้เกิดความเสียหายได้? ทำไมต้นไม้จึงขาดธาตุอาหาร ทั้งๆที่ชาวสวนเองก็ใส่ปุ๋ยหรือฉีดพ่นอย่างเต็มที่แล้ว?


       ปัญหาเหล่านี้จึงรออยู่ และเชื่อว่ายังไม่มีใครสามารถพูดได้อย่างเต็มภาคภูมิว่าแก้ไขได้แม้แต่คนเดียว


       หากเราคิดวิเคราะห์เจาะลึกลงไปถึงรากเหง้าของปัญหาที่แท้จริง จะทราบว่าแท้จริงแล้วมีแค่สาเหตุเดียว คือ " ต้นไม้อ่อนแอ " เท่านั้นเอง ,ขาดภูมิต้านทานด้วยตัวเองในสิ่งที่มีผลกระทบแล้วชักนำสู่ปัญหาที่เกิดขึ้น


 


     ปัจจัยหรือ Factor ที่เป็นบ่อเกิดให้เกิดปัญหานั้นมีหลายประการ และล้วนมีความสำคัญกันทั้งนั้น ,การใส่เคมีกับพืชจนเกินขอบเขต จนสภาพดินกลายเป็นดินตาย เป็นดินที่ไม่มีชีวิต ต้นไม้จึงอ่อนแอขาดกำลังในการต่อสู้กับสิ่งต่างๆตามวันเวลาที่ผ่านไป


         สภาพอากาศที่ผิดธรรมชาติ ,ฝนตกหนัก ,ตกผิดฤดู ,อากาศหนาวเย็นเป็นเวลานาน แม้กระทั่ง


บางอย่างที่ทุกคนไม่เคยคาดหรือมองข้ามไป...การทดลองบางอย่างของบางประเทศ จนทำให้เกิดกัมตภาพรังสีในชั้นบรรยากาศ แล้วกลายเป็นลมหรือฝน แล้วพัดเข้าสู่ประเทศไทย แผ่ขยายไปจนทั่ว ,ความเจริญของประเทศ ที่เปลี่ยนแปลงเป็นประเทศกึ่งอุตสหกรรมโดยเฉพาะบางภาค บางจังหวัดของประเทศ ฝนที่ตกลงมาจึงกลายเป็นฝนกรด จนยากที่จะนำมาดื่มกินได้อย่างสนิทใจ


จะแก้ไขกันอย่างไร?


       สิ่งเดียวประการเดียวนั่นก็คือ ต้องทำให้ต้นไม้นั้นแข็งแรง มีภูมิต้านทานด้วยตัวเอง ด้วยการสร้างให้ดินนั้นมีชีวิตขึ้น ,การให้อาหารและวัคซีนธรรมชาติแก่พืชที่ถูกต้องและต่อเนื่องเฉกเช่นเดียวกับคน ที่ต้องทำร่างกายให้แข็งแรงแต่เบื้องต้นอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุดแล้วที่ควรทำ  แต่การให้ยาในตอนหลัง ให้ผลน้อยมากหรืออาจถึงขั้นไม่ได้ผลเลยแต่ประการใด สร้างความเสียหายและความทุกข์อย่างกว้างขวางสุดคณานับซึ่งเกิดขึ้นมาแล้วในบางท้องที่


สิ่งที่แนะนำ


      เกษตรกรที่เข้าใจในเหตุที่เกิดขึ้นอย่างถ่องแท้ มองแบบการณ์ไกลไม่ตั้งอยู่ในความประมาท คือรอเหตุเกิดจึงมาตามแก้  ควรรีบหันมาใส่ใจด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากขึ้น หรือมากที่สุดกว่าเดิมที่ใช้มาด้วยเพราะยังขาดความเข้าใจที่แท้จริงถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ไขว้เขวกับเคมีที่ถาโถมเข้าจิตใจ


จุดประสงค์ของอินทรีย์ คือการสร้างดินให้กลับมามีชีวิตขึ้นอีกครั้ง ด้วยธาตุอาหารธรรมชาติที่อาจมีมากกว่าสิ่งที่มนุษย์จะรับรู้ได้ ด้วยภูมิปัญญาหรือเครื่องมือที่มีอยู่กันในปัจจุบัน


        การใส่อาหารพืชและระยะเวลา


1.ใส่โบกาฉิในอัตรา 20 ก.ก/ต้น หรือ 1 ตัน/ไร่ในครั้งแรก หลังการเก็บเกี่ยวและแต่งทรงพุ่ม


2.ฉีดพ่นด้วย ซูโตจู ,ปุ๋ยปลา ,ฮอร์โมนไข่ ,ฮอร์โมนผลไม้ ทับปุ๋ยที่ใส่ลงไป ,เกลี่ยดินฝังกลบ ,ให้น้ำตามปกติที่เคยทำ


3.ฉีดพ่นด้วยซูโตจู และฮอร์โมนข้างต้น ให้ทั่วทั้งใบ ทั้งต้น


4.ใส่โบกาฉิอีกครั้งหลัง 3 เดือน ,ด้วยปริมาณ 5 ก.ก/ต้น ,ใส่ทุกเดือนหรือเดือนเว้นเดือน


5.ใส่โบกาฉิอีกครั้งด้วยอัตรา 20 ก.ก/ต้นเหมือนข้อแรก ในช่วงก่อนออกดอก เพื่อเร่งความอุดมสมบูรณ์ให้กับผลผลิตที่จะออกมา รวมทั้งเป็นการป้องกันเชื้อโรคร้ายต่างๆที่จะมารบกวนกับดอกผล รวมทั้งราก (โรคโคนเน่า -รากเน่า :               ไฟทอปเธอร์ร่า)


6.ช่วงออกดอก ควรงดเว้นการฉีดพ่นจนกว่าจะออกเป็นผลเล็กแล้ว แต่หากต้องการฉีดก็สามารถที่จะทำได้โดยปรับอัตราส่วนผสมให้เจือจางลงมาครึ่งหนึ่งจากปกติที่เคยทำ


 


หมายเหตุ  


     1  อัตราส่วนผสม , การใช้ซูโตจูและฮอร์โมนชนิดต่างๆ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง


    2. ปริมาณการใส่ปุ๋ยที่กล่าวมาข้างต้นเหมาะสำหรับผู้ใช้ในปีแรก ส่วนปีถัดๆไปสามารถลดปริมาณลงได้ เพราะดินนั้นอุดมสมบูรณ์ และมีชีวิตแล้ว


 


 


 


                                                                                                  บัวเหลียว


 



 


Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
รูปภาพ
(นามสกุลไฟล์ควรเป็น [ jpg , jpeg , gif ] และไฟล์ไม่เกิน 3 MB.)
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view