สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สวนทุเรียนที่จันทบุรี

(อ่าน 3199/ ตอบ 4)

ลูกสาวลุงบูลย์

สวนทุเรียนที่จันทบุรี



   เมื่อวานมีโอกาสเข้าไปเยียมเยียนชมแปลงทุเรียนของลูกค้าที่จันทบุรี ทั้งสองมีความต่างกันที่แนวทางการทำทุเรียน


สวนแรกอยู่ที่อำเภอมะขาม สวนเก่าแก่มรดกตกทอด ใช้เคมีมาตลอด สภาพสวนโทรมมาก ต้นทุรียนส่วนใหญ่กำลังโดนโรครากเน่าโคนเน่าเข้าทำลาย


เจ้าของสวนพยายามเสาะหาเคมีภัณฑ์ ใครว่าอะไรดีก็เอามาใช้ แต่ทุเรียนก็ยังตายเรื่อยๆ ที่ปลูกก็มี ที่โค่นทิ้งก็มี


   เจ้าของสวนคนรุ่นใหม่ เริ่มเห็นว่าการใช้เคมีต่อไปในอนาคต จุดจบของทุเรียนที่ปลูกใหม่คงไม่ได้ต่างกับต้นใหญ่ๆที่รอวันโค่นทิ้ง จึงตัดสินใจเริ่มใช้


แนวทางอินทรีย์เข้ามาผสมผสาน เริ่มต้นจากการใส่ขี้หมู หาปุ๋ยหมักในพื้นที่มาใส่ แต่ทุเรียนก็ยังไม่กระเตื้องขึ้น


   จากการสอบถามพบว่าขี้หมูที่เอามาใส่ไม่ได้ผ่านกระบวนการหมัก นั่นหมายถึงเป็นการเอาเชื้อโรคมาใส่ให้ทุเรียน และปุ๋ยหมักเอง เจ้าของสวนไม่


สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปได้ว่าสิ่งที่นำมาหมักคืออะไรบ้าง กระบวนการหมักเป็นอย่างไร?







ลูกสาวลุงบูลย์

สภาพทุเรียนที่เห็นคือใบเหลือง กำลังทิ้งใบเป็นส่วนใหญ่ ใบอ่อนที่ออกมาไม่เจริญเติบโต ใบแก่เต็มไปด้วยโรคจุสาหร่าย จุดสนิม ที่แตกใบอ่อนและใบเริ่ม


เข้าสู่ระยะเพสลาด ใบแก่จะทิ้งใบทั้งต้น

ลูกสาวลุงบูลย์


 อีกหนึ่งสวน อยู่แถวแสลง สวนปลูกใหม่ เจ้าของสวนก็มือใหม่ มุ่งมั่นเรื่องการทำทุเรียนอินทรีย์ แต่ขาดประสบการณ์ เสาะหาปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้ยินในโฆษณา


วิทยุ เคเบิลทีวี จากสวนที่ทำท่าว่าจะล่ม ก็กลับฟื้นขึ้นมา แต่.....อินทรีย์ที่ใช้ยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอในการป้องโรครากเน่าโคนเน่า สภาพที่เห็นคือต้นที่ดู


ภายนอกสมบูรณ์ กำลังออกดอก แต่ลำต้นกำลังเน่า จึงเกิดคำถามว่าปุ๋ยอินทรีย์และสารสกัดอินทรีย์ต่า๐ที่ใช้แท้จริงแล้วคืออะไรกันแน่?


ลูกสาวลุงบูลย์

ลูกสาวลุงบูลย์

Page : 1
Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
รูปภาพ
(นามสกุลไฟล์ควรเป็น [ jpg , jpeg , gif ] และไฟล์ไม่เกิน 3 MB.)
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view