สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มะขามป้อม

มะขามป้อม

      ลักษณะทางธรรมชาติ

    * เป็นไม้ป่าอายุยืนหลายสิบปี  ทนแล้งได้ดีแต่ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนาน  ชอบดินลูกรังมีอินทรีย์วัตถุมากๆ  ระบายน้ำดี 
 
                
    * ให้ผลผลิตปีละ 1 รุ่น ออกดอกช่วงเดือน ส.ค.- ก.ย. ผลแก่เก็บเกี่ยวช่วงเดือน ม.ค.- ก.พ.
                
    * ออกดอกตามข้อใบของกิ่งแก่  ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศผสมตัวเองหรือผสมต่างดอกต่างต้นได้
  
              
    * ปัจจุบันไม่มีใครปลูกมะขามป้อมเป็นสวนขนาดใหญ่เพราะตลาดค่อนข้างแคบ แต่ก็มีบางคนไปเก็บมะขามป้อมจากป่ามาจำหน่าย
                                
      สายพันธุ์
                
      พันธุ์พื้นเมือง.  พันธุ์จัมโบ้.
                 

      ขยายพันธุ์
                
      ตอน (ดีที่สุด/ให้ผลผลิตเร็ว).   เพาะเมล็ด (ไม่กลายพันธุ์/ให้ผลผลิตช้า)
                 
      เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ  
                
    - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทาn(แห้งเก่าข้ามปี)ปีละ 2 ครั้ง
  
  - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง                
    - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง  
                
    - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
                
      หมายเหตุ :
               
    - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน  
                
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่และการให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้  
                
    - ให้กลูโคสเฉพาะช่วงสำคัญ เช่น เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  สะสมอาหาร  บำรุงผลกลาง ช่วงละ 1-2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 20-30 วัน.....ถ้าให้บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นเกิดอาการนิ่ง ไม่ตอบสนองต่อสารอาหารหรือฮอร์โมนใดๆทั้งสิ้น
                
    - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง
                 

      เตรียมต้น
                
      ตัดแต่งกิ่ง :
                
    - มะขามป้อมเป็นพืชใบเล็ก กิ่งเจริญทางยาวมากกว่าทางข้างจึงมักไม่ค่อยมีปัญหาใบแน่นทึบจนบังแสงแดดซึ่งกันและกัน  การไม่บังแสงแดดซึ่งกันและกันจะทำให้กิ่งในทรงพุ่มโปร่งส่งผลให้ออกดอกติดผลได้ ดังนั้นก่อนลงมือตัดแต่งกิ่งจึงต้องพิจารณาประเด็นนี้ด้วย หากจำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งจริงๆก็ให้ตัดแต่งเพื่อให้เกิดการแตกยอดใหม่โดยตัดกิ่งกระโดง  กิ่งในทรงพุ่ม  กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง  กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
    - ถ้าต้องการตัดแต่งกิ่งเพื่อไม่ให้แตกใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไปให้ตัดชิดลำกิ่งประธาน
    - นิสัยการออกดอกของมะขามป้อมไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว  แต่ถ้าตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้องสม่ำเสมอจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น
    - หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วจะตัดแต่งกิ่งเลยก็ได้ แต่ตัดแต่งแล้วไม่ต้องให้น้ำ ปล่อยต้นให้กระทบแล้ง(พักต้น) ตลอดเดือน เม.ย.– พ.ค. จนหน้าดินแตกระแหงอย่างนั้น กระทั่งถึงประมาณกลางเดือน พ.ค.ถึงต้น มิ.ย.(เริ่มหน้าฝน) มะขามป้อมก็จะแตกใบอ่อนออกมาเอง ถ้าช่วงนี้ไม่มีฝนตกก็จะต้องระดมให้น้ำแบบวันต่อวันพร้อมกับให้สารอาหารกลุ่มเปิดตาดอกทั้งทางรากและทางใบ หลังจากที่ต้นได้ผ่านความแห้งแล้ง (พักต้น) อย่างหนักมาก่อนแล้วเมื่อได้รับน้ำและการบำรุงก็จะแตกใบอ่อนชุดใหม่ทันที
     - การตัดแต่งกิ่งไม่ใช่เพียงเพื่อให้การออกดอกติดผลง่ายขึ้นเท่านั้นแต่ดอกและผลที่ออกมานั้นจะมีคุณภาพดีขึ้นกว่าไม่ได้ตัดแต่งกิ่งอีกด้วย                
      ตัดแต่งราก                
                
    - ต้นที่อายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก  แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหา
อาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
    - ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม                
    - ธรรมชาติของมะขามป้อมไม่จำเป็นต้องตัดแต่งรากแต่วิธีล่อรากขึ้นมาอยู่บริเวณผิวดินจะช่วยให้ได้รากใหม่สมบูรณ์กว่ารากเก่า
                 

             
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะขามป้อม       

    1.เรียกใบอ่อน + เปิดตาดอก
                
      ทางใบ :
                
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                 
      ทางราก :
                
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.     
                
    - ให้น้ำทุกวัน
                
      หมายเหตุ :
                
    - หลังจากกระทบแล้งช่วงพักต้นมาอย่างเพียงพอแล้ว เมื่อได้รับน้ำแบบระดมให้วันต่อวันมะขาม
ป้อมจะแตกใบอ่อนพร้อมกับมีดอกออกตามมาด้วย  โดยไม่ต้องเรียกใบอ่อนเหมือนไม้ผลอื่นๆ
 
   - หลังจากระดมระดมให้น้ำแล้วต้นแตกใบอ่อนมากจนกลายเป็นเฝือใบและไม่ออกดอกหรือออกดอกน้อย สาเหตุอาจจะมาจากน้ำไต้ดินโคนต้นหรือได้รับปุ๋ยคอกที่มีไนโตรเจนมากเกินไป แก้ไขโดยทำลายใบบางส่วนด้วย “น้ำ 100 ล.+0-10-30 หรือ 0-21-74 สูตรใดสูตรหนึ่ง (5 กก.)”  ฉีดพ่นพอเปียกใบเป็นหย่อมๆ เป็นบริเวณครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งทรงพุ่ม ใบที่ถูกฉีดพ่นจะร่วง ยอดอ่อนกิ่งอ่อนสีเขียวจะแห้งตาย แต่ไม่เป็นไรเพราะจากนั้นแตกยอดใหม่พร้อมกับดอกรุ่นใหม่ ส่วนใบไม่ถูกฉีดพ่นจะไม่ร่วงและกิ่งแก่สีน้ำตาลไม่แห้งตาย  จากนั้นก็จะแตกยอดใหม่แล้วมีดอกออกมาอีก           

    2.บำรุงดอก
                
      ทางใบ :
                
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
                
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน    
                
      ทางราก :
                 
    - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น
                
      หมายเหตุ :
                
    - ช่วงดอกระยะดอกตูม บำรุงด้วย “น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.10-20 ซีซี.”  เมื่อดอกบานได้จำนวน 1 ใน 4 ของจำนวนดอกทั้งต้น ฉีดพ่นพอเปียกใบ นอกจากช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสมแล้วยังช่วยบำรุงขั้วเหนียวได้อีกด้วย
 
                                        
    3.บำรุงผลเล็ก
                
      ทางใบ :
                
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                
      ทางราก :
                
    - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1-1.5 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
   
 - คลุมโคนต้นด้วยอินทรีย์วัตถุพร้อมกับเสริมยิบซั่มธรรมชาติ อัตรา 1 ใน 10 ส่วนของครั้งที่ใส่เมื่อช่วงเตรียมต้น                
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
                
      หมายเหตุ :
                
    - เริ่มบำรุงหลังกลีบดอกร่วง
             
    - เทคนิคการให้ปุ๋ยทางใบด้วยสูตร 15-45-15 ซึ่งเป็นสูตรเดียวกับบำรุงดอกนั้น วัตถุประสงค์เพื่อให้ P.สร้างเมล็ดก่อนในช่วงแรก ซึ่งเมล็ดนี้จะเป็นผู้สร้างเนื้อต่อไปเมื่อผลโตขึ้น
 
      
    4.บำรุงผลกลาง
                
      ทางใบ :                   
                
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม(100 ซีซี.)+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียมโบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250
 ซีซี. ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                
      ทางราก :
                
    - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง(1-1.5 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน   
                
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน 
                
      หมายเหตุ :
                
    - เริ่มบำรุงเมื่อเปลือกหุ้มเมล็ดเริ่มแข็ง (เข้าไคล)
    - วัตถุประสงค์เพื่อขยายขนาดผลและลดขนาดเมล็ด (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) จะได้ผลขนาดใหญ่เนื้อมากเมล็ดเล็ก                 
    
- ให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 เดือน/ครั้ง  จะช่วยบำรุงต้นให้สมบูรณ์และผลผลิตคุณภาพดี       

    5.บำรุงผลแก่
                
      ทางใบ :
                
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.หรือ น้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ กลูโคส 250 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7วันก่อนเก็บเกี่ยว  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                
      ทางราก :
                
    - ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-1.5 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.  
                
    - งดน้ำเด็ดขาด         
                
      หมายเหตุ :
                
    - เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน  1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
  
  - การให้ 8-24-24 จะช่วยให้ต้นได้สะสมไว้ก่อนพักต้นหลังเก็บเกี่ยวผลผลลิต  ซึ่งต้นจะใช้สำหรับสร้างตาดอกในรุ่นปีการผลิตต่อไป

view