สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มะชามเปรี้ยว

มะชามเปรี้ยว 

           ลักษณะทางธรรมชาติ                
      * เป็นไม้ผลยืนต้นอายุนับร้อยปี  ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล ทนแล้งและเจริญเติบโตดีในดินทุกประเภท  เนื้อดินลึก  มีอินทรีย์วัตถุมากๆ   ต้นที่ได้รับการบำรุงดีๆจะให้ผลผลิตตลอดปีแบบไม่มีรุ่น
 
               
      * ลักษณะทางสายพันธุ์อย่างหนึ่งที่ต่างจากมะขามหวานก็คือ แม้อายุต้นมากๆหรือให้ผลผลิตมานานปีแล้วความเปรี้ยวจะไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่มะขามหวานนั้นหากบำรุงไม่ดีและไม่ถูกต้องความหวานจะเปลี่ยนเป็นความเปรี้ยว
 
               
      * ไม่ชอบน้ำมากจนเกินไป ถ้าน้ำมากถึงระดับรากต้องแช่น้ำตลอดเวลาหรือระดับน้ำใต้ดินตื้นจะแตกใบอ่อนมากจนเฝือใบ 
 
                
      * เพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์อยู่เสมอควรให้ฮอร์โมนบำรุงราก 2-3 เดือน/ครั้งและให้ฮอร์โมนไซโตคินนิน 1-2 เดือน/ครั้ง
                
      * เป็นไม้ผลยืนต้นประเภทออกดอกติดผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่น ถ้าต้นได้รับการบำรุงดีถูกต้องเต็มที่สม่ำเสมอจะให้ผลผลิตดกและคุณภาพดี แต่ถ้าไม่ได้รับการบำรุงเลยผลผลิตที่ออกมาก็ไม่ดกและคุณภาพไม่ดี
  
              
      * ออกดอกจากซอกใบปลายกิ่ง  เป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ผสมตัวเอง หรือต่างดอกในต้นเดียวหัน หรือต่างต้นได้ดี
                
      * เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว
  
              
      * ช่วงเดือน ก.พ.-เม.ย. ผลมะขามอ่อนมีราคาดีมากเนื่องจากเป็นช่วงแล้ง แต่หากมีการเตรียมความพร้อมต้นก่อนหน้านั้นก็สามารถทำให้มะขามเปรี้ยวออกดอกติดผลเป็นผลอ่อนจำหน่ายช่วงเดือน ก.พ.-เม.ย.ได้ไม่ยาก ทั้งนี้เพราะมะขามเปรี้ยวสามารถออกดอกติดผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่นอยู่แล้ว
                
      * รัฐบาลบังคลาเทศแนะนำประชาชนว่า  ปลูกมะขามเปรี้ยวเหมือนมีมรดกเงินล้านให้ลูกหลานเพราะปลูกครั้งเดียวมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้ตลอดชาติ ทั้งนี้ประเทศบังคลาเทศมีอุตสาหกรรมแปรรูปมะขามเปรี้ยวรองรับอยู่แล้ว  
                 

        สายพันธุ์
                
        มะขามขี้แมว  :
       
        ฝักเล็ก  ข้อน้อย  เนื้อน้อย  ไม่นิยมปลูก
                
        มะขามกระดาน :       
        ฝักโตยาว   ข้อมาก   เนื้อมาก   เหมาะสำหรับทำมะขามเปียก
   
                
        มะขามฝักยักษ์  :       
        ฝักโตยาว  ข้อมาก  เนื้อมากเหมาะสำหรับทำมะขามสดแช่อิ่มเนื่องจากเนื้อ
มาก แต่ไม่เหมาะสำหรับทำมะขามเปียกเพราะเมื่อแห้งแล้วจะมีเนื้อน้อย

        การขยายพันธุ์
                
        ตอน.  ทาบกิ่ง (ดีที่สุด).  เสียบยอด.  เพาะเมล็ด (กลายพันธุ์).
                        
          เตรียมแปลง
                
        แปลงปลูกแบบยกร่องแห้งลูกฟูกหรือพูนโคกมีระบบระบายน้ำใต้ดินโคนต้นดี ไม่แนะนำให้ทำแปลงปลูกแบบยกร่องน้ำหล่อหรือติดแหล่งน้ำธรรมชาติ
  
                 
        ระยะปลูก
                
     -  ระยะปกติ       4 X 6  ม.  หรือ  6 X 8 ม.
                
     -  ระยะชิดพิเศษ  3 X 4  ม.  หรือ  4 X 4 ม. 
                 

        เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ  
                
      - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
  
    - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง                
      - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง  
                
      - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่มล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
      - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
               
        หมายเหตุ :
                
      - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน  
                
      - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้  
                
      - ให้กลูโคสนมสัตว์สดเฉพาะช่วงสำคัญ เช่น เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  สะสมอาหาร  บำรุงผลกลาง ช่วงละ 1-2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 20-30 วัน....ถ้าให้บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นเกิดอาการนิ่ง ไม่ตอบสนองต่อสารอาหารหรือฮอร์โมนใดๆทั้งสิ้น
                
      - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง
                 

        เตรียมต้น
                
        ตัดแต่งกิ่ง :
                
      - เนื่องจากเป็นพืชใบเล็กมักไม่ค่อยมีปัญหาใบแน่นทึบจนบังแสงแดดซึ่งกันและกัน  การไม่บังแสงแดดซึ่งกันและกันจะทำให้กิ่งในทรงพุ่มโปร่งส่งผลให้ออกดอกติดผลได้ ดังนั้นก่อนลงมือตัดแต่งกิ่งจึงต้องพิจารณาประเด็นนี้ด้วย หากจำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งจริงๆก็ให้ตัดแต่งเพื่อให้เกิดการแตกยอดใหม่โดยตัดกิ่งกระโดง  กิ่งในทรงพุ่ม  กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง  กิ่งไขว้  กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค  ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
                
       - ถ้าต้องการตัดแต่งกิ่งเพื่อไม่ให้แตกใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไปให้ตัดชิดลำกิ่งประธาน
                
       - ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดีและเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มด้วย
       - นิสัยการออกดอกของมะขามเปรี้ยวไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว  แต่ถ้าตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝน  แล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ  จะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น                 
         ตัดแต่งราก
                
       - ต้นที่อายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก  แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
       - ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
       - ธรรมชาติของมะขามเปรี้ยวไม่จำเป็นต้องตัดแต่งรากแต่วิธีล่อรากขึ้นมาอยู่บริเวณผิวดินจะช่วยให้ได้รากใหม่สมบูรณ์กว่ารากเก่า  

             
     ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะขามเปรี้ยว
 
               
        1.เรียกใบอ่อน
                
          ทางใบ :
                
        - ให้น้ำ 100 ล. + 25-5-5 (200 กรัม) หรือ 46-0-0 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 รอบต่อการเรียกใบอ่อน 1 ชุด ฉีดพ่นพอเปียกใบ
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                 
          ทางราก :
                
        - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง +  25-7-7 (1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
        
- ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                
          หมายเหตุ :
                
        - ลงมือปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งรากเสร็จ
                
        - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  การสะสมอาหารเพื่อการออก  การปรับ ซี/เอ็น เรโช.  การเปิดตาดอก  ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก......แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้ 
                
       - มะขามเปรี้ยวต้องการใบอ่อน 2 ชุด  ถ้าต้นสมบูรณ์ดี  มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว  หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย  ใบชุด  2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ
         

      2.เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
                
         ทางใบ  :
                
       - ให้น้ำ 100 + 0-21-74 (200 กรัม) หรือ 0-39-39 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม (100 กรัม) + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
                
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
                
         ทางราก :
                
         ให้น้ำตามปกติ  ทุก 2-3 วัน
                
         หมายเหตุ :
                
       - ลงมือปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
                 
       - วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปเร็วขึ้น  กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด
                
       - สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย
        
        3.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
                
          ทางใบ  :
                
        - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน  ติดต่อกัน 2-3 รอบแล้วให้  น้ำ 100 ล. + เอ็นเอเอ. 25 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. สลับ 1 รอบ  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ติดต่อกัน 1-2  เดือน  จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่
  
      - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                
          ทางราก :
                
        - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง +  8-24-24 (250-500 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน    
                
        - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
                
          หมายเหตุ :
                
        - เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเพสลาด          
                
        - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง  โดยให้กลูโคสหรือนมสัตว์สดรอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน 
                
        - วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้นไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้  จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอก  ไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก  ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา
                
        - เพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออดอกมากยิ่งขึ้น  แนะนำให้ใส่มูลค้างคาว 100-200 กรัม/ต้นทรงพุ่ม 5 ม. ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่มจะเป็นการดียิ่งขึ้น.......ใช้มูลค้างคาวด้วยความระมัดระวังเพราะในมูลค้างคาวมีสารอาหารในการสร้างเมล็ด อาจมีผลกระทบช่วงบำรุงผลกลาง (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) ได้
               
        - ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย  แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือ
ปรับ ซี/เอ็น เรโช.  ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง
       

       4.ปรับ ซี/เอ็น เรโช
                
         ทางใบ :
                
       - ในรอบ 7 วัน ให้น้ำ 100 ล.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  1-2 รอบ  ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ  ระวังอย่าให้ลงพื้น
                
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
                
         ทางราก :
                
       - เปิดหน้าดินโคนต้น
                
       - งดน้ำ 
                
         หมายเหตุ :
                
       - ลงมือปฏิบัติเมื่อสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน               
 
       - ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีก  แต่ถ้าต้นมี
อาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ  แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ  โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน                  
        - วัตถุประสงค์เพื่อ  “เพิ่ม”  ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.)และ  “ลด”  ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น.)  
         

      5.เปิดตาดอก
                
         ทางใบ  :
            
       - ในรอบ 7 วัน ให้น้ำ 100 ล.+ ไธโอยูเรีย (500 กรัม) หรือ  0-52-34  (500 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  1 รอบกับให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ. 25 ซีซี.+ สาหร่ายทะเล 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. อีก 1 รอบ  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
                
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
                
         ทางราก :
                
       - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น 
                
       - ให้น้ำพอหน้าดินชื้นหรือพอให้ต้นได้รู้สึกตัว
                
         หมายเหตุ :
                
       - ลงมือปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกทั่วทั้งต้นหรือทุกจุดที่สามารถออกดอกได้
       - อาจจะพิจารณาใส่ 8-24-24  (100-200 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.อีก 1 รอบก็ได้ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นพอหน้าดินชื้นเพื่อเสริมของเก่าที่ใส่เมื่อช่วงสะสมอาหารและช่วงที่ปรับ ซี/เอ็น เรโช.                 
       - หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ สาเหตุมาจากตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
                
       - มะขามเปรี้ยวเป็นไม้ผลมีนิสัยออกดอกง่ายหากบำรุงต้นได้สมบูรณ์เต็มที่
           

      6.บำรุงดอก
                
        ทางใบ :
                
      - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15 (200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
      - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน                    
        ทางราก :
                 
      - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
                 
      - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น
                
        หมายเหตุ :
                
      - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.) หรือระยะดอกตูม  บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
                  
      - ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.  1 รอบ  จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
                
      - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
                
      - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก  ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้
                
      - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน
               
      - ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้  หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ
                
      - ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น  แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก........มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอสามารถช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก 
        

      7.บำรุงผลเล็ก
                
         ทางใบ  :
                
       - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15 (200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
                
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
                
         ทางราก :
                
       - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง +  25-7-7 (250-500 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน     
                
       - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นพร้อมกับเสริมยิบซั่มธรรมชาติ อัตรา 1 ใน 10 ส่วนของครั้งที่ใส่เมื่อช่วงเตรียมต้น
                
       - ให้น้ำแบบค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำทีละน้อยๆของการให้น้ำ 3-4 รอบเพื่อให้ต้นรู้ตัว
         หมายเหตุ :                
       - เริ่มบำรุงเมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือหลังกลีบดอกร่วง
       - เทคนิคการให้ปุ๋ยทางใบด้วยสูตร 15-45-15 ซึ่งเป็นสูตรเดียวกับบำรุงดอกนั้น วัตถุประสงค์เพื่อ ให้ P. สร้างเมล็ดก่อนในช่วงแรก  ซึ่งเมล็ดนี้จะเป็นผู้สร้างเนื้อต่อไปเมื่อผลโตขึ้น                 
       - ระยะผลเล็กหรือฝักเล็กหรือฝักดาบ การบำรุงแบบเน้นจิ๊บเบอเรลลินโดยใส่เพิ่มให้ไปพร้อมกับธาตุรอง/ธาตุเสริมตัวอื่นๆ หรือแยกให้เฉพาะจิ๊บเบอเรลลินเดี่ยวๆโดยเฉพาะก็ได้ เพื่อขยายขนาดผลให้ยาวขึ้น  เป็นการเตรียมล่วงหน้าสำหรับขยายขนาดฝักให้ใหญ่ขึ้นในช่วงผลกลาง
       

      8.บำรุงผลกลาง
                
         ทางใบ  :
                
       - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม(100 ซีซี.)+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ทุก 7-10 วันฉีดพ่นพอเปียกใบ
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                
         ทางราก :
                
       - ใส่ปุ๋ยน้วภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง +  21-7-14 (250-500 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน   
                
       - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน 
                
         หมายเหตุ :
                
       - ลงมือบำรุงเมื่อเปลือกหุ้มเมล็ดเริ่มแข็ง (เข้าไคล) หรือส่วนเนื้อเริ่มนูนขึ้นมาให้เห็น(ขึ้นรูป)
                
       - วัตถุประสงค์เพื่อขยายขนาดผลและลดขนาดเมล็ด (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ)
 
      - ให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ  แคลเซียม โบรอน. 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผล     

     9.บำรุงผลแก่
                
        ทางใบ :
                
      - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-0-50 (200 กรัม) หรือ 0-21-74  (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. หรือ น้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วันก่อนเก็บเกี่ยว  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
      - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                
        ทางราก :
                
      - ใส่ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
   
   - ให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด               
        หมายเหตุ
                
      - เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
       
      - การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับมะขามเปรี้ยวที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดต้นแล้วต้องพักต้นทันทีโดยไม่ต้องทำการใดๆทั้งสิ้นนั้น  ทำให้ต้องพักต้นทั้งๆที่ต้นยังโทรมอยู่ กรณีนี้เมื่อถึงฤดูกาลใหม่ต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน) กลับคืนมาโดยเร็วแล้วจึงเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่ต่อไป......วิธีการทำให้ต้นไม่โทรมมากเกินไปก็คือ บำรุงให้ต้นสมบูรณ์อยู่เสมอโดยให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องหลายๆปี  
       
        - การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันหรือประเภททะวายทยอยออก แบบไม่มีรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่จัดไปแล้วต้นไม่โทรม  ใน 8-24-24 เป็นปุ๋ยประเภทสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ซึ่งจะส่งผลให้กิ่งที่ยังไม่ออกดอกติดผลเกิดอาการอั้นแล้วออกดอกติดผลเป็นผลรุ่นใหม่ขึ้นมาอีกได้

view