สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ท้อ

ท้อ 

                ลักษณะทางธรรมชาติ            
          * เป็นไม้ผลยืนต้นทรงพุ่มขนาดกลาง  สายพันธุ์เมืองหนาวต้องการอากาศหนาวเย็น ช่วงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต้องการความหนาวเฉลี่ย 10 องศาเซลเซียส.ติดต่อกันนาน 600 ชม.  พื้นที่ปลูกสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางไม่น้อยกว่า 1,000 ม.  ออกดอกช่วงเดือน ม.ค.- ก.พ.  ผลแก่เก็บเกี่ยวในช่วงเดือน เม.ย. – ก.ค.  ส่วนสายพันธุ์เมืองร้อนต้องการสภาพอากาศ
ปกติ  ออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่น ผลเล็กรสอมเปรี้ยว
 
           
          * ท้อทั้งสองสายพันธุ์เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย  มีอินทรีย์วัตถุมากๆ  น้ำและอากาศถ่ายเทสะดวก  ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนาน
            
          * ท้อเมืองหนาวเริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 2-3 ปีหลังปลูกและให้ผลผลิตเต็มที่เมื่ออายุ 5-6 ปีขึ้นไปช่วงผลเล็กจะทิ้งผลส่วนหนึ่งซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ต้น  การบำรุงแบบทำให้ต้นได้รับสารอาหารอย่างพอเพียงตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยลดอัตราการทิ้งผลของต้นแม่ได้ ถ้าต้นแม่ไม่ทิ้งผลก็ต้องซอยผลออกบ้าง  โดยเหลือผลเก็บไว้ ณ ตำแหน่งที่มีใบสังเคราะห์อาหาร 40 ใบ/1 ผล  แต่ถ้ามีใบมากกว่า 70-75 ใบก็จะไม่มีประโยชน์  แต่กลับทำให้ทรงพุ่มแน่นทึบ  หรือไว้ผลห่างกัน 15-20 ซม.เสมอ
             

          สายพันธุ์
            
         
 พันธุ์พื้นเมือง :      
          พันธุ์แปะมุง.  ผลเล็ก รสอมเปรี้ยว  ทนแล้ง  โตเร็ว  ระบบรากแข็งแรงดีมาก
          พันธุ์โครงการหลวง  :       
          อ่างขางขาว.  อ่างขางแดง.  ดอยปุย. ..... เป็นท้อเมืองหนาว  มีการปลูกในเขต จ.ภาคเหนือ ที่ดอยอ่างขาง โดยโครงการหลวง  สายพันธุ์นำเข้ามาจากต่างประเทศแล้วตั้งชื่อให้เป็นสายพันธุ์ไทย ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นทดลองและปรับปรุงพันธุ์ เนื่องจากสภาพอากาศในประเทศไทยยังเอื้ออำนวยต่อการออกดอกติดผลของท้อไม่มากนัก  กล่าวคือ ท้อเมืองหนาวต้องการสภาพอากาศหนาวเย็นติดต่อกันไม่น้อยกว่า 600 ชม. แต่สภาพอากาศหนาวของประเทศไทยมีเพียง 300 ชม.เท่านั้น ถึงกระนั้นก็ยังถือว่าได้ผล  เพราะสามารถทำให้มีผลผลิตออกสู่
ตลาดได้ทุกปี 
            
          พันธุ์จากสหรัฐ  :       
          ฟลอดาซัน.   ฟลอดาเบลล์.   ฟลอดาเรด.
            
          พันธุ์ไต้หวัน :           
          ยิงคู.
                                      

          การขยายพันธุ์
            
          ปลูกต้นพื้นเมืองลงไปก่อนเพื่อใช้เป็นต้ตอ  บำรุงเลี้ยง 1 ปี  เมื่อต้นสมบูรณ์แข็งแรงดีก็ให้เปลี่ยนยอด หรือติดตาด้วยพันธุ์ดี.........ควรเปลี่ยนยอดหรือติดตาช่วงหน้าหนาวซึ่งเป็นช่วงพักต้น  เมื่อถึงช่วงหน้าฝน  ยอดที่เปลี่ยนหรือตาที่ติดจะแตกยอดใหม่แล้วเจริญเติบโตต่อเร็วมาก
             

          ระยะปลูก
            
        - ระยะปกติ  4 X 4 ม.  หรือ  4 X 5 ม.
                        

          เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ  
            
        - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
  
      - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง            
        - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง  
            
        - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม  ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
            
      
  - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
            
          หมายเหตุ  :
            
        - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน  
            
        - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่......การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้  
            
        
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง             

          เตรียมต้น
            
          ตัดแต่งกิ่ง :
            
        - ให้ตัดแต่งกิ่งในช่วงพักต้น (ก.พ.-เม.ย.) ให้เป็นแบบรูปทรงแจกัน หรือตัดยอดประธานแบบผ่ากบาล  ต้นที่อายุยังน้อยควรตัดให้เหลือความสูงไม่เกิน 60 ซม.  ตัดกิ่งแขนงด้านล่างให้เหลือความยาวประมาณ 1 ม. ไว้กิ่งต้นละ 3-4 กิ่ง  ส่วนกิ่งแขนงด้านบนให้ตัดสั้นจนเหลือตา 2-3 ตาสำหรับเป็นโครงสร้างต้น  หลังจากเรียกใบอ่อนได้มาแล้วจะมีกิ่งย่อยแตกออกมาจำนวนมากก็ให้พิจารณาตัดออก 1 ใน 3 จะช่วยให้โครงสร้างต้นเป็นพุ่มแจ้ดี
    
     ตัดแต่งราก  :            
       - ท้อที่ต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก   แต่หากต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นให้ใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
            
       - ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
 


ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อท้อ            
         
ข้อมูลนี้เหมาะสำหรับท้อเมืองร้อนซึ่งไม่มีเรื่องของสภาพอากาศและอุณหภูมิเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  แต่หากจะพิจารณานำข้อมูลบางตอนหรือบางอย่างไปประยุกต์ใช้กับท้อเมืองหนาวก็สามารถทำได้  เพราะถึงอย่างไรทั้งพืชเมืองหนาวและพืชเมืองร้อนต่างก็ต้องการสารอาหารกลุ่มเดียวกัน
         

                            ขั้นตอนปฏิบัติบำรุงต่อท้อ

         1.เรียกใบอ่อน          
            
            ทางใบ :              
           
            ให้น้ำ 100 ล.+ 46-0-0(200 กรัม) หรือ 25-5-5 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ทุก  5-7  วัน 
            
            ทางราก :
            
          - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (½-1) กก./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน   
            
          - ให้น้ำเปล่า  ทุก  3-5  วัน
            
            หมายเหตุ  : 
            
          - เริ่มให้เมื่อเข้าสู่หน้าฝน  หรือพ้นระยะพักตัวของต้นแล้ว
    
      - ใบอ่อนเมื่อออกมาแล้วต้องระวังโรคและแมลงศัตรูเข้าทำลายใบเพราะหากใบอ่อนชุดใดชุดหนึ่งถูกลายเสียหายจะต้องเริ่มเรียกชุด 1 ใหม่   ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและกำหนดระยะการออกดอกติดผลต้องเลื่อนออกไปอีกด้วย
  
        - เรียกใบอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยทางรากสูตร  25-7-7  จะช่วยให้ได้ใบที่มีขนาดใหญ่  มีพื้นที่หน้าใบสังเคราะห์อาหารมาก  และคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ            
          - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน  ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม  เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  การสะสมอาหารเพื่อการออก  การปรับ ซี/เอ็น เรโช.  การเปิดตาดอก  ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก .... แก้ไขโดย
บำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้ 
        

          2.เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
              
             ทางใบ  :  
            
           - ให้น้ำ 100 ล. + 0-21-74 (200 กรัม)  หรือ 0-39-39 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุ
เสริม  100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร  250  ซีซี. 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 3-5 วัน             
           - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
            
             ทางราก  :
            
           - ให้ 8-24-24 (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
            
           - ให้น้ำปกติ  ทุก  2-3 วัน
            
             หมายเหตุ :
            
           - ลงมือบำรุงเมื่อใบอ่อนชุดแรกอกมาเริ่มแผ่กาง
            
           - วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น  กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด
            
           - สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย
        

          3.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก    
            
             ทางใบ :
            
           - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน  ติดต่อกัน 2-3 รอบแล้วให้น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่  25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. สลับ 1 รอบ 
ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ติดต่อกัน 1-2  เดือน
            
           - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
            
             ทางราก :
            
           - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24  หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
            
           - ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน
            
             หมายเหตุ :
            
           - เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
            
           - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือน ในห้วง 2 เดือนนี้ให้กลูโคสผงหรือนมสัตว์สด 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน 
            
           - ปริมาณ 8-24-24  หรือ 9-26-26  ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา  กล่าวคือ  ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก  ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก  ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
           - การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น  หมายถึง  การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น  เช่น  จากเคยให้ 15 วัน/ครั้ง ก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง
      
     - ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย  แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึง
ลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช.  ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง
       

           4.ปรับ  ซี/เอ็น  เรโช  
            
              ทางใบ 
            
            - ให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
จำนวน  1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน  โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ
            - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน            
              ทางราก
            
            - เปิดหน้าดินโคนต้น
            
            - งดน้ำเด็ดขาด
             
              หมายเหตุ :
            
            - วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และลดปริมาณ เอ็น. (อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกหลังการเปิดตาดอก
     
            - ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช  จะต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช จะไม่มีฝนตก  เพราะถ้ามีฝนตกลงมา  มาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว
            
- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีกแต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบโดย โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน              
            - อาการอั้นตาดอกของท้อสังเกตได้จากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด  กิ่งช่วงปลายและใบกรอบเปราะ  ข้อใบสั้น  หูใบอวบอ้วน
            
             การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสม อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก  แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น
            
             - เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย
           

            5.เปิดตาดอก
            
               ทางใบ :
            
             - 
ให้น้ำ 100 ล. + สาหร่ายทะเล 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่  100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
             - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน             
              ทางราก :
            
            - ให้ 8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
            
            - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
            
               หมายเหตุ  :
            
     
       - หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ สาเหตุมาจากตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ         

            6.บำรุงดอก    
            
               ทางใบ :
            
             - ให้น้ำ 100 ล. + 15-45-15 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ. 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่  25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร
250 ซีซี.   ฉีดพ่นทางใบพอเปียก  ระวังอย่าให้ลงถึงพื้น
            
             - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน  
           
               ทางราก :
            
             - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
           
             - ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
             - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน            
               หมายเหตุ  :
            
             - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม  บำรุงด้วยฮอร์โมนเอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
             - ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.  1 รอบ  จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี            
             - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน
           
             - ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้  หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ
            
             - ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น  แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก...มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก 
            
             - เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ทำเองจะได้ผลกว่า
            
             - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
             - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้            
             - การไม่ใช้สารเคมีเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆจะมีผึ้งหรือมีแมลงธรรมชาติอื่นๆจำนวนมากเข้ามาช่วยผสมเกสรส่งผลให้ติดผลดกขึ้น      
         

           7.บำรุงผลเล็ก    
            
              ทางใบ : 
            
            - ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่  25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ทุก 5-7 วัน
            
            - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
            
              ทางราก :
            
            - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม  
            
            - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ 10% ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
 
           - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน            
            - ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน
            
              หมายเหตุ  :         
             
            - เริ่มปฏิบัติหลังผสมติดหรือกลีบดอกร่วง
- เทคนิคการให้ปุ๋ยทางใบด้วยสูตร 15-45-15 ซึ่งเป็นสูตรเดียวกับบำรุงดอกนั้น  วัตถุประสงค์เพื่อให้  P. สร้างเมล็ดก่อนในช่วงแรก  ซึ่งเมล็ดนี้จะเป็นผู้สร้างเนื้อต่อไปเมื่อผลโตขึ้น        

          8. บำรุงผลกลาง    
            
             ทางใบ :
            
           - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  
           - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน            
             ทางราก :
            
           - ใส่น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./ครั้ง/เดือน  
            
           - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
              
             หมายเหตุ  :
            
           - เริ่มลงมือบำรุงระยะผลขนาดกลางเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล  การที่จะรู้ว่าผลเริ่มเข้าไคลแล้วหรือยังจะต้องใช้วิธีสุ่มเก็บผลมาผ่าดูเมล็ดภายใน
            
         
  - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก
        
          9.ระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
             ทางใบ :            
           - ให้น้ำ 100 ล. + 0-21-74 (200 กรัม) หรือ  0-0-50 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นใบพอเปียกใบ
   
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน             
              ทางราก :
            
            - เปิดหน้าดินโคนต้น   ทำร่องระบายน้ำป้องน้ำขังค้างโคนต้น
            - ให้ 8-24-24 หรือ 13-13-21 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
            - งดน้ำ                
              หมายเหตุ  :
            
            - เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยวตามปกติ 10-20 วันและให้ปฏิบัติต่อไปจนกว่าจะหมดฝน
            - วิธีสุ่มเก็บลงมาผ่าพิสูจน์ภายในก็จะรู้ว่าสมควรลงมือเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือต้องบำรุงต่อไปอีก             
            - การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ   นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมจึงเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย  
              

            บำรุงท้อให้ออกดอกติดผลตลอดปี   
            
            ท้อออกดอกติดผลได้แบบไม่มีรุ่น   หลังจากต้นได้อายุให้ผลผลิตแล้วใช้วิธีบำรุงแบบให้มีสารอา
หารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องติดต่อกันหลายๆปี และหมั่นตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งเสมอ  ท้อก็จะมี ดอก + ผลหลายรุ่น  ในต้นเดียวกัน  จากนั้นให้ปฏิบัติบำรุง  ดังนี้

            ทางใบ  :            
          - ให้น้ำ  100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 200 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี.  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  
            
          - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 3-5 วัน   
            
            ทางราก  :
            
          - ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (2 รอบ) สลับกับ 21-7-14 (1 รอบ) ห่างกันรอบละ 20-30 วัน  อัตรา 1 กก./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
            
          - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
            
            หมายเหตุ  :
            
          - ให้แคลเซียม โบรอน. และฮอร์โมนน้ำดำ. 1-2 เดือน/ครั้ง
  
        - ให้ทางดินน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง และจุลินทรีย์หน่อกล้วย 2-3 เดือน/ครั้ง
          - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/วัวนม + มูลไก่ไข่/ไก่เนื้อ + มูลค้างคาว)+ ยิบซั่มธรรมชาติ  6 เดือน/ครั้ง            
          - ใส่กระดูกป่นปีละ 1 ครั้ง
            
          - สวนยกร่องน้ำหล่อให้ลอกเลนก้นร่องขึ้นพูนโคนต้นปีละ 1 ครั้ง
          - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง

view