ลักษณะทางธรรมชาติ
* เป็นพืชไร่ประเภททนแล้งได้ดี แม้จะเป็นพืชทนแล้งแต่มิได้หมายความว่าไม่ต้องการน้ำเสียเลย หากแต่ต้องการน้ำเพียงหน้าดินชื้นเท่านั้นก็เจริญเติบโตได้ดี ในขณะเดียวกันหากได้รับน้ำมากจนพื้นดินแฉะก็จะทำให้เฝือใบ ไม่ออกดอกติดฝัก
* ถั่วแระ คือ ถั่วเหลือง ที่อายุผลกลางอ่อนกลางแก่ เมล็ดยังเป็นสีเขียวหรือเขียวอมเหลืองเล็กน้อย ผ่านการปรับปรงพันธุ์จนกระทั่งได้ขนาดเมล็ดใหญ่กว่าถั่วเหลืองไร่ทั่วๆไป (ถั่วเหลืองไร่ 100 เมล็ด/12-18 กรัม.......ถั่วแระ 100 เมล็ด/25-35 กรัม)
* ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล ที่สามารถควบคุมปริมาณน้ำได้แน่นอน เจริญเติบโตดีในดินร่วนปนทราย มีอินทรีย์วัตถุมากๆ ระบายน้ำดี ไม่ทนต่อสภาพน้ำขังค้าง
* นิยมปลูกช่วงปลายฝนต่อต้นหนาว เพื่ออาศัยความชื้นของเนื้อดินที่ได้รับน้ำตั้งแต่ช่วงหน้าฝนและได้รับน้าค้างในช่วงหน้าหนาว แต่ช่วงหน้าฝนปลูกไม่ได้เพราะไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำได้จึงทำให้มีราคาแพง ปัญหาควบคุมน้ำไม่ได้นี้ หากปรับรูปแบบแปลงปลูกจากปลูกบนพื้นดินมาเป็นปลูก
* ชอบอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน ช่วงเดือน มี.ค. – เม.ย. อากาศจึงไม่ค่อยเหมาะสมต่อการปลูก
* ปลูกง่ายโตเร็ว อายุเก็บเกี่ยว 60-65 วันหลังหยอดเมล็ด
* เก็บเกี่ยวมื่อผลหรือฝักกลางอ่อนกลางแก่ หรือเมล็ดเต่ง 80 % หรืออายุ 30-35 วันหลังดอกบาน หรือ 60-65 วันหลังปลูก.........ช่วงหน้าร้อนผลจะทะยอยให้เก็บได้ 5-7 วัน แต่ถ้าเป็นหน้าหนาวผลจะทะยอยให้เก็บได้ 12-14 วัน........ไม่ควรเก็บผลตอนแสงแดดจัดหรืออากาศร้อนเพราะจะทำให้ผลเหี่ยว คุณภาพไม่ดี ควรเก็บตอนเช้ามืดและเมื่อเก็บเกี่ยวลงมาแล้วต้องเข้าร่มหรืออุณหภูมิห้องทันที
* การปลูกในนาข้าวหลังเกี่ยวข้าวหรือปลูกในแปลงผักหลังเก็บเกี่ยวผัก นอกจากเป็นการตัดวงจรชีวิตเชื้อโรคในดินแล้ว เศษซากต้นถั่วแระเมื่อไถกลบลงดินยังช่วยปรับสภาพโครงสร้างดินได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
* ชาวญี่ปุ่น. ไต้หวัน. นิยมบริโภคกันมาก แต่ช่วงหน้าหนาวที่หิมะลงไม่สามารถปลูกกลางแจ้งได้จึงปลูกถั่วแระด้วยวัสดุปลูก (ดินปลูกปรุงสำเร็จ) ในภาชนะปลูก (ถุง) ภายในโรงเรือนที่ควบคุมอุณหภูมิได้ ซึ่งเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก
สายพันธุ์
กำแพงแสน-292. เกาซุง-1. ชิโรโนมาอิ. ไวท์ไลออน.
เตรียมเมล็ดพันธุ์
ตรวจสอบวันหมดอายุและภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์........นำเมล็ดพันธุ์ลงแช่ในน้ำเกลือเจือจาง คัดเมล็ดลอยทิ้งเพราะเสื่อมสภาพ เลือกใช้เฉพาะเมล็ดจมน้ำ นำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง.........นำเมล็ดพันธุ์ที่เลือกได้แล้วคลุกกับ “ไรโซเบียม” แล้วจึงนำไปเพาะ จะช่วยให้ต้นเมื่อโตขึ้นสมบูรณ์แข็งแรง
เตรียมแปลง
1.ไถดินเปล่าให้ขี้ไถขนาดใหญ่ ทิ้งตากแดดจัด 15-20 แดดเพื่อฆ่าเชื้อโรคและกำจัดเหง้าวัชพืช
2. ใส่อินทรีย์วัตถุ ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ + มูลค้างคาว + เลือด) หมักข้ามปี. ยิบซั่มธรรมชาติ.กระดูกป่น.เศษพืชบดป่น หว่านทั่วแปลงปลูกแล้วไถพรวนอินทรีย์วัตถุคลุกเคล้าลงดิน
3. ไถยกร่องลูกฟูก สันร่องกว้าง 50-60 ซม. โค้งหลังเต่า สูงจากพื้นระดับ 30-50 ซม. ร่องทางเดินระหว่างสันแปลงกว้าง 1 ม. ลึก 20-30 ซม.
4. คลุมหน้าแปลงด้วยฟางแห้งหนาๆ
5. บ่มดินโดยรดด้วย น้ำ + ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (เน้น...เลือดและไขกระดูก) ทุก 5-7 วัน ติดต่อกันนาน 1 เดือน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ปรับสภาพดิน กำจัดเชื้อโรคและย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นฮิวมิค แอซิด.....เลือดหมักที่เป็นส่วนผสมในน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงจะช่วยบำรุงให้ต้นถั่วแระคุณภาพดียิ่งขึ้น
หมายเหตุ :
- การเตรียมสารอาหารไว้ในดินล่วงหน้าก่อนต้นเจริญเติบโตหรือให้ต้นได้กินสารอาหารทันทีที่เริ่มงอก ต้นถั่วแระซึ่งมีช่วงอายุเพียง 60-65 วัน ก็จะเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นช่วงเตรียมดินจึงควรใส่ ฮอร์โมนบำรุงราก. เลือดสัตว์สด. โดยใส่ร่วมไปกับจุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือปุ๋ยน้ำชีวภาพ
- ถั่วแระตอบสนองต่อเปลือกไข่สดบดละเอียดดีมาก
- จากการที่พืชตระกูลถั่วทุกชนิดชอบจุลินทรีย์กลุ่ม “คีโตเมียม – ไรโซเบียม – ไมโครไรซ่า” ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีมากในเปลือกถั่วลิสง หรือเศษซากพืชตระกูลถั่ว ดังนั้น เทคนิคการเตรียมดินโดยใส่เปลือกถั่วลิสงลงไปด้วยจะเป็นการดีอย่างมากสำหรับถั่วแระ
ระยะปลูก
ระยะปลูก 15-20 ซม. ที่ริมสันแปลงแบบแถวคู่สลับฟันปลา
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อถั่วแระ
1. ระยะต้นเล็ก
- ให้น้ำ 100 ล. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุน
ไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นให้เปียกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นพอหน้าดินชื้น ทุก 5-7 วัน ช่วงแดดจัด
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มให้เมื่อแตกใบอ่อนได้ 3-5 ใบ
2. ระยะก่อนออกดอก
- ให้น้ำ 100 ล. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นให้เปียกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นพอหน้าดินชื้น 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ช่วงแดดจัด
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มให้เมื่ออายุ 20 วัน หลังหยอดเมล็ด ซึ่งช่วงนี้ถั่วแระจะเริ่มออกดอก
- ฉีดพ่นรอบแรกแล้ว ถ้ามีดอกออกมาไม่มากพอให้ฉีดพ่นรอบสอง ห่างตากรอบแรก 5-7 วัน
3. ระยะเริ่มติดฝัก – เก็บเกี่ยว
- ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ไคโตซาน 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน100 ซีซี.+ สารสกัสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นให้เปียกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นพอหน้าดินชื้น 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ช่วงแดดจัด
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มให้หลังจากเริ่มติดฝักขนาดเล็ก และให้ไปเรื่อยๆจนกระทั่งเก็บเกี่ยว
- ระยะที่ฝักพัฒนาได้ 50 เปอร์เซ็นต์แล้วฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้คุณภาพผลผลิตดีมาก
- ก่อนเก็บเกี่ยวไม่จำเป็นต้องบำรุงด้วยสูตร “บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว” เพราะถั่วแระเก็บเกี่ยวเมื่ออายุฝักกลางอ่อนกลางแก่
- ตลอดอายุปลูกของถั่วแระไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ย (เคมี) ทางรากเพราะระยะเวลาสั้นมาก การทำให้ถั่วแระมีสารอาหารกินอย่างเพียงพอนั้นแนะนำให้ใส่ “ปุ๋ยอินทรีย์หมักด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง” ไว้ก่อนตั้งแต่ช่วงเตรียมดินก็พอเพียงแล้ว
- การให้ "เลือดหมัก" โดยละลายน้ำรดโคนต้น 15-20 วัน/ครั้ง จะช่วยบำรุงให้เมล็ดฝักขนาดใหญ่
ถั่วแระ
ถั่วแระ