สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เชอรี่

เชอรี่

            ลักษณะทางธรรมชาติ                
         * เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปี  ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล  ชอบดินดำร่วน  อินทรีย์วัตถุมากๆ  ทนแล้งแต่ไม่ทนต่อน้ำท่วมขังค้างนาน
                
         * เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลาง  ชอบแสงแดดร้อยเปอร์เซ็นต์  นอกจากผลแก่จัดรับประทานได้แล้วยังเหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้ประดับสวน
                
         * ตอบสนองต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพ  ฮอร์โมนธรรมชาติ  และปุ๋ยอินทรีย์ดีมาก
         * ออกดอกติดผลตลอดปีโดยทยอยออกแบบไม่มีรุ่น                
         * นิยมปลูกเป็นไม้ประดับมากกว่าเป็นไม้เศรษฐกิจ  ถึงกระนั้นก็ยังมีผลเชอรี่บางส่วนวางจำหน่าย
                  

            สายพันธุ์
                
            เชอรี่หวานผลแดง.  เชอรี่เปรี้ยวผลแดง.  เชอรี่เปรี้ยวผลเหลือง.
            

            การขยายพันธุ์
                
            ตอน (ดีที่สุด).  ทาบกิ่ง.  เสียบยอด.  ติดตา.  เพาะเมล็ด (ไม่กลายพันธุ์).
                 
            ระยะปลูก
                
         -  ระยะปกติ  4 X 4 ม.  หรือ   4 X 6 ม.
               
         -  ระยะชิด    2 X 2 ม.  หรือ   2 X 3 ม.
                

            เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ  
                
          - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง  
                
          - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง
                
          - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง  
                
          - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม  ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
                
          
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
                
            หมายเหตุ  :
                
          - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
  
         - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้                 
          
 - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง                 

            เตรียมต้น
                
            ตัดแต่งกิ่ง :
                
          - เชอรี่ออกดอกที่ซอกใบปลายกิ่งอายุข้ามปี  ดังนั้นในการตัดแต่งกิ่งประจำปีหรือหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ตัดเฉพาะกิ่งที่ออกดอกติดผลเพื่อสร้างใบใหม่สำหรับให้ออกดอกติดผลในปีต่อไป  ส่วนกิ่งที่ไม่ออกดอกติดผลในปีนี้ให้คงไว้แล้วบำรุงต่อไป
               
          - ตัดกิ่งที่บังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดสามารถส่องได้ถึงทุกกิ่งทั่วทรงพุ่ม  กิ่งที่ได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งที่ไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย
                
          - ตัดกิ่งกระโดง  กิ่งในทรงพุ่ม  กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง  กิ่งไขว้  กิ่งหางหนู  กิ่งเป็นโรค และกิ่งที่ออกดอกติดผลแล้วเพื่อเรียกยอดใหม่สำหรับออดอกติดผลในรุ่นปีต่อไป การตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่มควรให้
โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้                
          - ตัดแต่งกิ่งปกติควรตัดให้เหลือใบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์และเมื่อใบอ่อนชุดใหม่ออกมาแล้วให้มีใบประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะช่วยให้การผลิดอกติดผลดี      
                
          - ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ  นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย          
                
          - นิสัยการออกดอกของเชอรี่ไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว แต่ถ้าตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ  จะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น 
                
             ตัดแต่งราก  :
                
          - เชอรี่ระยะต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งรากแต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มี   ประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นให้ใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
                
          -  ต้นที่อายุหลายปีระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
  

                             
การปฏิบัติบำรุงต่อเชอรี่
                            (ให้ออกดอกติดผลเป็นรุ่นเดียวกันทั้งต้น)       

         1.เรียกใบอ่อน   
                
            ทางใบ :    
                
            ให้น้ำ 100 ล.+ 46-0-0 (200 กรัม) หรือ 25-5-5 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250  ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ทุก  7-10  วัน
 
                
            ทางราก :
                
          - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 ( ½-1) กก./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน 
                
          - ให้น้ำเปล่า  ทุก  3-5  วัน
                
            หมายเหตุ  : 
                
          - ใบอ่อนเมื่อออกมาแล้วต้องระวังโรคและแมลงศัตรูเข้าทำลายใบเพราะหากใบอ่อนชุดใดชุดหนึ่งถูกลายเสียหายจะต้องเริ่มเรียกชุดที่ 1 ใหม่  ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและกำหนดระยะการออกดอกติดผลต้องเลื่อนออกไปอีกด้วย
  
                
          - เรียกใบอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยทางรากสูตร  25-7-7  จะช่วยให้ได้ใบที่มีขนาดใหญ่  มีพื้นที่หน้าใบสังเคราะห์อาหารมาก  และคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ
                
          - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม
         

         2.เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
                  
            ทางใบ :  
                
          - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74 (200 กรัม)  หรือ  0-39-39 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
 
                
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
                
           ทางราก  :
                
        - ให้  8-24-24 (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
                
        - ให้น้ำปกติ  ทุก  2-3 วัน
               
          หมายเหตุ  :
                
        - ลงมือบำรุงเมื่อใบอ่อนชุดแรกอกมาเริ่มแผ่กาง
                
        - การให้  8-24-24 เหมาะสำหรับเร่งใบอ่อนชุดสุดท้ายซึ่งต้องบำรุงต่อด้วยขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอก  แต่หากต้องเรียกใบอ่อนชุด 2 ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ 
            
        - วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น  กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด
        - สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้อีกด้วย        

        3.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก    
                
           ทางใบ :
                
         - ให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ทุก 5-7 วัน  ติดต่อกัน 2-3 รอบแล้วให้น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่  25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. สลับ 1 รอบ  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ติดต่อกัน 1-2  เดือน จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่
  
                
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
                
          ทางราก :
                
        - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24  หรือ  9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
                
        - ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน
                 
           หมายเหตุ  :
                
        - เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
                
        - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง  โดยให้กลูโคสหรือนมสัตว์สดรอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง  และให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน
         
                
        - ปริมาณ 8-24-24  หรือ 9-26-26  ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา  กล่าวคือ  ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก  ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก  ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น  แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย  ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
       

         4.ปรับ  ซี/เอ็น  เรโช  
                
           ทางใบ 
                
         - ในรอบ  7-10  วันให้น้ำ 100  ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม  100  ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ 
                
           ทางราก
                
         - เปิดหน้าดินโคนต้น
                
         - งดน้ำเด็ดขาด
                 
           หมายเหตุ :
                
         - วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และลดปริมาณ เอ็น. (อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกหลังการเปิดตาดอก
         - ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีกแต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ  โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากครั้งที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน                  
         - ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน  ซี/เอ็น  เรโช. จะสมบูรณ์ดีหรือไม่ให้สังเกตจากต้น ถ้าต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี.มากส่วนปริมาณ เอ็น.เริ่มลดลง และสังเกตความพร้อมของต้นก่อนเปิดตาดอกได้จากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม  กิ่งช่วงปลายและใบกรอบเปราะ  ข้อใบสั้น  หูใบอวบอ้วน ตาดอกโชว์เห็นชัด              
                
         - การให้สารอาหารทางใบอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก ควรให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น
                
         - เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย
                
         - กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานมากกว่าสวนพื้นราบยกร่องแห้งจึงจะทำให้ใบสลดได้  อาจส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน  ดังนี้จึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช  โดยกะคะเนให้ดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตกระแหงและมีความชื้นไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช  พอดี 
         

        6.เปิดตาดอก
                
           ทางใบ :
                
           ให้ น้ำ 100 ล. + สาหร่ายทะเล 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่  100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
                
           ทางราก :
                
        -  ให้  8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
                
        -  ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
                
           หมายเหตุ :
               
           เชอรี่ที่ต้นสมบูรณ์จริงๆสามารถออกดอกเองได้โดยไม่ต้องเปิดตาดอก


       6. บำรุงดอก
                
          ทางใบ
                
        - ให้น้ำ 100 ล. + 15-45-15 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม  100  ซีซี. + เอ็นเอเอ.100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ทุก  5-7  วัน   ฉีดพ่นพอเปียกใบ  
                
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก  3  วัน    
                
         ทางราก
                 
       - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเช่นเดิม   
                
       - ให้  8-24-24 (½-1 กก)./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
                
       - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น
                
         หมายเหตุ :
                
       - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน
                
       - ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้  หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ
                
       - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
                
       - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้
                
       - การไม่ใช้สารเคมีเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะมีผึ้งหรือมีแมลงธรรมชาติอื่นๆจำนวนมากเข้ามาอาศัย  แมลงเหล่านี้จะช่วยผสมเกสรส่งผลให้กระท้อนติดผลดกขึ้น
         

       7.บำรุงผลเล็ก
                
         ทางใบ : 
                
       - ให้น้ำ 100 ล.+21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียมโบรอน 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่  25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 5-7 วัน  
                
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
                
         ทางราก :
               
       - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม  
                
       - ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
 
                
       - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
       - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน                
          หมายเหตุ :               
                
        - เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง  หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
- เทคนิคการให้ปุ๋ยทางใบด้วยสูตร 15-45-15 ซึ่งเป็นสูตรเดียวกับบำรุงดอกนั้น  วัตถุประสงค์เพื่อให้ P. สร้างเมล็ดก่อนในช่วงแรก  ซึ่งเมล็ดนี้จะเป็นผู้สร้างเนื้อต่อไปเมื่อผลโตขึ้น                 
        - ช่วงบำรุงผลเล็ก-ผลกลาง  ถ้าขาดแคลเซียม.จะทำให้เนื้อบาง เมล็ดใหญ่ และถ้าขาดแม็กเนเซียม.จะทำให้ต้นโทรม  ผลร่วง และคุณภาพผลด้อย
         
        
       8.บำรุงผลกลาง    
                
          ทางใบ :
                
        - ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุ้สริม 100 ซีซี. + ไคโตซาน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
 
        -  ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
                
          ทางราก :
               
        - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (1/2 กก)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./ครั้ง/เดือน 
                
        - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
                
           หมายเหตุ  :
               
        - เริ่มปฏิบัติเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล  การที่จะรู้ว่าผลเริ่มเข้าไคลแล้วจะต้องใช้วิธีสุ่มเก็บผลมาผ่าดูเมล็ดภายใน
                
     
   - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก      

      9.บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว   
                
         ทางใบ :
                
       - ให้น้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
 
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                
         ทางราก :
                
      - เปิดหน้าดินโคนต้นแล้วงดน้ำ
                
      - ให้ 13-13-21 หรือ  8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
        หมายเหตุ  :                
      - เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน
                
      - การให้ด้วยมูลค้างคาวสกัดเพียงอย่างเดียวสำหรับชมพู่ถือว่าพอเพียงแล้วสำหรับความหวาน แต่หากให้ทางใบด้วย   0-0-50   หรือ   0-21-74   เสริมเข้าไปอีกรสจะหวานจัดมากจนรับประทานไม่ได้  
                
      - ช่วงผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยว  ถ้ามาตรการงดน้ำไม่ดีจริงหรือยังมีน้ำขังค้างโคนต้นอยู่มากนอกจากจะได้รสชาติไม่ดีแล้วยังทำให้เนื้อหลวม สีไม่จัด และน้ำหนักผลไม่ดีอีกด้วย
  
    - การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ  นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย     
               

            บำรุงเชอรี่ให้ออกดอกติดผลตลอดปี               

        เชอรี่ออกดอกติดผลได้แบบไม่มีรุ่น หลังจากที่ต้นได้อายุเริ่มให้ผลผลิตแล้วใช้วิธีบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องติดต่อกันหลายๆปี และหมั่นตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งเสมอก็จะมี ดอก + ผลหลายรุ่น  ในต้นเดียวกัน  จากนั้นให้ปฏิบัติบำรุง  ดังนี้
  

              ทางใบ  :
                
            - ให้น้ำ  100 ล. + ฮอร์โมนไข่ (200 ซีซี.) + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี.  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ทุก 7-10 วัน
                
            - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 3-5 วัน   
                
              ทางราก  :
                
            - ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1/2  กก.) 1 รอบ สลับกับ  21-7-14 (1/2 กก.) 1 รอบ ห่างกันรอบละ 20-30 วัน
 
                
            - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
                
              หมายเหตุ :
                
            - ให้แคลเซียม โบรอน. และฮอร์โมนน้ำดำ. 1-2 เดือน/ครั้ง    ฉีดพ่นพอเปียกใบ
            - ให้จิ๊บเบอเรลลิน.และเอ็นเอเอ. 2-3 เดือน/ครั้ง ฉีดพ่นพอเปียกใบ
 
           - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/วัวนม + มูลไก่ไข่/ไก่เนื้อ + มูลค้างคาว)+ ยิบซั่มธรรมชาติ  6 เดือน/ครั้ง                
            - ใส่กระดูกป่นปีละ 1 ครั้ง
  
            - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง  1-2 เดือน/ครั้ง              
            - สวนยกร่องน้ำหล่อให้ลอกเลนก้นร่องขึ้นพูนโคนต้นปีละ 1 ครั้ง
 

view