สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ชมพู่ทับทิมจันทร์

ชมพู่ทับทิมจันทร์                         

          บางคนเปรียบชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์ว่าเป็นชมพู่   ปราบเซียน หรือ  ทับทิมจน  เพราะลักษณะทางธรรมชาติประจำสายพันธุ์หลายอย่างต่างจากชมพู่ทั่วไป คนที่จะปลูกทับทิมจันทร์ให้ประสบความสำเร็จจริงๆนั้นต้องเข้าใจถึงช่วงพัฒนาการแต่ละระยะอย่างแท้จริง  โดยเฉพาะ  น้ำ-สภาพอากาศ-ธาตุอาหาร ว่าชมพู่ทับทิมจันทร์ต้องการหรือไม่ต้องการอย่างไร จากนั้นจึงเตรียมการป้องกันไว้ล่วงหน้า                        

         ปัญหาเฉพะของทับทิมจันทร์ที่ต่างจากชมพู่พันธุ์ทั่วๆไปพอสรุปได้  ดังนี้
                         
           ปัญหา 
         เปิดตาดอกด้วย 13-0-46 แล้วใบแก่ร่วง หรือเปิดตาดอกด้วย "ไธโอยูเรีย" แล้วแตกใบอ่อนมาก
           แนวทางแก้ไข
         ไม่ต้องเปิดตาดอกด้วยปุ๋ยทางใบทั้ง 2 ตัวนี้  แต่ให้ 0-42-56 เปิดตาดอกแทน  โดยให้ตั้งแต่ระยะ  "สะสมตาดอก"  แล้วให้ไปเรื่อยๆติดต่อกันประมาณ 45-50 วัน  ทับทิมจันทร์จะเริ่มแทงดอกออกมาเอง  จากนั้นก็ให้ 0-42-56 ต่อไปอีกเพื่อใบอ่อน  จนกระทั่งดอกพัฒนาเป็นผลขนาดเล็ก (ระฆัง)  จึงเปลี่ยนมาเป็นสูตรบำรุงผลขยายขนาด

         ปัญหา  
         ทับทิมจันทร์ช่วงที่เริ่ม ออกดอก-ติดผลเล็ก  แตกใบอ่อนแล้วสลัดหรือทิ้งดอกและลูก
                          
         แนวทางแก้ไข                       
     1. ช่วงเริ่มออกดอกให้บำรุงทางใบด้วย  0-42-56 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม (เน้น แคลเซียม โบรอน) 2-3 รอบ  ห่างกันรอบละ 3-5 วัน  จนเมื่อผลโตถึงระยะกระโถนและระยะระฆังให้สูตรเดิมนี้อีก 1 รอบเป็นรอบสุดท้าย                          
         ส่วนทางรากให้ 8-24-24 ซ้ำอีก 1 รอบ กับให้น้ำพอหน้าดินชื้น เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อน จากนั้นให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงผลต่อไปตามปกติ  นิสัยทับทิมจันทร์เมื่อผลใหญ่แล้วจะไม่ทิ้งลูกและแตกใบอ่อนน้อยลง                        
     2. ให้ทางใบด้วย  กลูโคส หรือ นมสัตว์สด  ช่วงเริ่มออกดอกถึงติดเป็นผล 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 15-20 วัน จะช่วยกดใบอ่อนไม่ให้ออกมาได้เช่นกัน.......และ 
     3. ไม่ควรเปิดตาดอกตรงกับช่วงที่มีฝนหรืออากาศปิด                         

         ปัญหา                       
         ทับทิมจันทร์ระบบรากไม่แข็งแรง                       
         แนวทางแก้ไข                       
     1. ปลูกทูลเกล้าก่อน บำรุงเลี้ยงต้นทูลเกล้าจนได้ผลผลิตแล้วอย่างน้อย 1 รุ่น (อายุต้น 1-2 ปี) จากนั้นตัดต้นทูลเกล้าเหลือแต่ตอ นำยอดทับทิมจันทร์มาเสียบลงบนตอทูลเกล้า แล้วเลี้ยงยอดทับทิมจันทร์ตามปกติ 1-2 ปี  ยอดทับทิมจันทร์ก็จะโตให้ผลผลิตได้
     2. ทับทิมจันทร์ต้นโตให้ผลผลิตแล้ว  นำต้นกล้าทูลเกล้าลงปลูกข้างต้นทับทิมจันทร์ 1-2 ต้น แล้วจัดการเสริมรากให้แก่ทับทิมจันทร์                        
     3. ปลูกต้นกล้าทูลเกล้าลงไปก่อน  บำรุงเลี้ยงจนกระทั่งต้นโตขนาดเท่าดินสอดำ  แล้วจัดการเสียบยอดทับทิมจันทร์บนตอทูลเกล้านั้น                        
        ทับทิมจันทร์มีรากค่อนข้างน้อยและหาอาหารไม่เก่ง แต่ทูนเกล้ามีรากมากและหากินเก่ง  
                         
      ปัญหา                        
       ทับทิมจันทร์ผลเล็ก  เมล็ดใหญ่  เนื้อบาง  สีไม่จัด  หรือสีจัดแต่ไม่เต็มผล
       แนวทางแก้ไข                        
    1. ช่วงเริ่มติดผลอย่าให้ขาดน้ำและอย่าให้น้ำมากเกิน                        
    2. ให้ฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลลินอย่างถูกต้องตามอัตรา ตามกำหนด (3 รอบ) และตามสภาพอากาศ (อากาศร้อนให้ใช้น้อยลง หรือ อากาศหนาวใช้มากขึ้นจากอัตราใช้ในฉลาก)
    3. ให้ยิบซั่มธรรมชาติปีละ 2 ครั้ง และให้กระดูกป่นปีละ  1 ครั้ง จะช่วยบำรุงคุณภาพเนื้อ เปลือก กลิ่นและสี                        
    5. ไม่ใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่มีกากน้ำตาลเป็นส่วนผสม โดยเฉพาะการให้ทางใบซึ่งกากน้ำตาลจะรัดลูกทำให้ลูกไม่โต  หากต้องการใช้จริงๆก็ให้ใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ใช้กลูโคสเป็นส่วนผสมแทน
    6. ให้ฮอร์โมนเร่งหวานสูตรเด็ด (มูลค้างคาว) ก่อนเก็บเกี่ยวช่วยเร่งหวานและสี
                             
         ปัญหา                       
         ทับทิมจันทร์ออกดอกน้อยทำให้ได้ผลไม่ดก                        
         แนวทางแก้ไข                        
         ทับทิมจันทร์ต้องการใบจำนวนมากเพื่อสังเคราะห์อาหาร จึงจำเป็นต้องเรียกใบอ่อน 3 ชุด โดยมีวิธีทำดังนี้                        
         วิธีที่ 1 ....... ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว  หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อ  ใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ไม่ควรออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน หลังจากใบอ่อนชุด 2  เพสลาดก็ให้เรียกใบอ่อนชุด 3 ต่อได้เลยอีกเช่นกัน  การที่ใบอ่อนชุด 2 ออกไม่พร้อมกันนั้นจะส่งผลให้ใบอ่อนชุด  3 ออกไม่พร้อมกันทั้งต้นอีกด้วย  และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด  3 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติต่อไป                        

         วิธีที่ 2 ....... หลังจากใบอ่อนชุดแรกแผ่กางแล้วเร่งให้เป็นใบแก่  ได้ใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบก็ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด  2   เมื่อใบอ่อนชุด 2 แผ่กางให้เร่งเป็นใบแก่   เมื่อใบชุด  2 เป็นใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบก็ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด  3 และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด  3 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ                        
         (วิธีที่ 1 ได้ผลดีกว่าวิธีที่ 2 เพราะต้นจะมีอาการโทรมน้อยกว่า......)
                          
เทคนิคตัดแต่งกิ่งแบบเฉพาะตัวของทับทิมจันทร์                        
         
ก่อนลงมือเปิดตาดอกให้สำรวจผลจากการปฏิบัติบำรุงตั้งแต่เริ่มต้น (ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน)   จนกระทั่งถึงขั้นตอน งดน้ำ-ใบสลด ว่าแต่ละช่วงการบำรุงนั้น ต้นมีอาการตอบสนองดังต่อไปนี้หรือไม่ อย่างไร และเพียงใด                                             
      - บำรุงต้นจนเริ่มแทงยอดอ่อนชุด 1 เสียก่อนแล้วจึงตัดแต่งกิ่งทั้งต้น  เปิดหน้าดินโคนต้น  พร้อมกับงดน้ำ 15-20 วัน เมื่อเห็นว่าใบแก่เขียวเข้มเริ่มสลดและใบแก่โคนกิ่งเริ่มร่วงแล้วให้ใส่ 25-7-7  ระดมให้น้ำวันเว้นวัน  ประมาณ 7 วันจะแตกใบอ่อนออกมาเป็นใบอ่อนชุด 2
      - ใบอ่อนชุด 2 เพสลาดให้ใส่  8-24-24  หรือ  9-26-26  พร้อมกับเร่งใบให้แก่เร็วโดยฉีดพ่นปุ๋ยทางใบด้วยสูตร 0-39-39 (2 รอบ) ห่างกันรอบละ 5-7 วัน เมื่อใบแก่จัดแล้วให้งดน้ำอีกครั้งประมาณ 15-20 วัน  ระหว่างงดน้ำนี้ถ้าชมพู่เกิดอาการอั้นตาดอกก็ให้ลงมือเปิดตาดอกได้  แต่ถ้าไม่อั้นตาดอกให้บำรุงด้วยสูตรเดิมและวิธีเกิดอีก  1 รอบ 
       - หลังจากได้ดอกออกมาแล้วก็ให้บำรุงตามขั้นตอนปกติต่อไป    

view