สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เงาะ

เงาะ

      ลักษณะทางธรรมชาติ

    * เป็นไม้ผลยืนต้นอายุยืนนานหลายสิบปี  ปลูกได้ทุกภูมิภาค ทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล  ชอบดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนปนดินเหนียว มีอินทรีย์วัตถุมาก ระบายน้ำดี ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนาน                   
    * ช่วงมีดอกและผลต้องการน้ำพอดีหรือพอชื้น แต่ช่วงพักต้นต้องการน้ำมาก
    * พื้นที่มีน้ำหรือฝนมากสีผลจะออกเขียว  ส่วนพื้นที่มีน้ำน้อยสามารถควบคุมปริมาณน้ำได้และอากาศเย็นสีผลจะออกแดงหรือ เหลืองอมแดงชัดเจนกว่า               
    * เงาะออกดอกติดผลที่ซอกใบปลายกิ่งจากกิ่งอายุข้ามปี กิ่งแขนงในทรงพุ่มอายุข้ามปีได้รับแสงแดด (ทรงพุ่มโปร่ง) ก็ออกดอกติดผลได้เช่นกัน               
    * ข้อมูลเกี่ยวกับดอกเงาะวันนี้ยังสับสน เอกสารทางวิชาการยังไม่อาจฟันธงได้ว่าดอกเงาะมีสภาพเป็นดอกตัวผู้ (ต้นตัวผู้). ดอกตัวเมีย (ต้นตัวเมีย). และดอกสมบูรณ์เพศ (ต้นกระเทย). อยู่ในต้นเดียวกันแต่ต่างช่อหรือช่อเดียวกันหรือต่างต้นกันแน่ กับทั้งข้อมูลจากประสบการณ์ตรงที่ชาวสวนเงาะยึดถือปฏิบัติหลายอย่างยังขัด แย้งกับข้อมูลทางวิชาการอยู่มาก การจะตัดสินระหว่างข้อมูลทางวิชาการกับข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ตรงของชาวสวน ว่าของใครถูกหรือผิดนั้นยังไม่อาจทำได้ แนวคิดหนึ่งคือ วิธีการที่ชาวสวนเงาะปฏิบัติต่อดอกเงาะในปัจจุบันแล้วได้ผลผลิตอย่างน่าพอใจ น่าจะถือเป็นแนวทางถูกต้องได้ 
    * ข้อมูลทางวิชาการต่อต้นเงาะระบุว่า......                   
      - ปลูกต้นเงาะตัวผู้สลับแทรกกับต้นเงาะตัวเมีย  อัตรา 1 : 18 ต้น เพื่อให้ต้นเงาะตัวเมียได้อาศัยเกสรตัวผู้เพื่อการผสมเกสร                   
      - นำยอดเงาะต้นตัวผู้ 3-5 ยอดเสียบบนยอดเงาะต้นตัวเมียแบบกระจายทั่วทรงพุ่มต้นตัวเมียเพื่อ  ให้ดอกตัวเมียได้รับเกสรจากดอกตัวผู้ในต้นเดียวกันนั้นเลย                      - ตัดช่อดอกเงาะตัวผู้ที่เกสรพร้อมผสมแล้ว ไปเคาะใส่ช่อดอกตัวเมียที่เกสรพร้อมรับการผสมแล้วเช่นกัน                    
      - นำดอกเงาะตัวผู้ที่เกสรพร้อมผสมแล้วขยำในน้ำ แล้วนำน้ำนั้นไปฉีดพ่นใส่ช่อดอกตัวเมียที่พร้อมรับการผสมแล้วโดยตรงช่วงเช้า (06.00-07.00)  หลังจากนั้นเวลาประมาณ 09.00-12.00 น. เกสรตัวผู้จะผสมกับเกสรตัวเมียเอง 
    * ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ฉีดพ่นใส่ช่อดอกโดยตรง โดยไม่จำกัดว่าเป็นช่อดอกของต้นตัวผู้ (ดอกตัวผู้) ต้นตัวเมีย (ดอกตัวเมีย) หรือต้นกระเทย (ดอกสมบูรณ์เพศ) ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.จะช่วยเปลี่ยนเพศดอกกระเทยทำหน้าที่ดอกตัวเมียให้เป็นดอกตัวผู้ แล้วผสมกับเกสรตัวเมียให้กลายเป็นผลต่อไป                
    *เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่ สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว  เรียกว่า  เงาะขี้ครอก             * เมื่อเงาะเริ่มเข้าสู่ระยะเปลี่ยน  ให้จิ๊บเบอเรลลิน 1-2 รอบ  จะช่วยให้การเข้าสีสม่ำเสมอกันทั้งช่อ และเข้าสีเร็วขึ้น
    * ต้นพันธุ์จากกิ่งตอน. ทาบ. เสียบยอดบนตอเพาะเมล็ดและเสริมราก 1 ราก. จะให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 3-4 ปี  ในขณะที่ต้นจากเพาะเมล็ดจะให้ผลผลิตเมื่ออายุ 6-7 ปี
    * การเสริมราก 1-2 รากจะช่วยให้ต้นหาอาหารได้มากกว่ามีรากเดียว  นอกจากจะส่งผลให้ต้นสมบูรณ์ให้ผลผลิตดีแล้วยังมีอายุยืนนานอีกด้วย                
    * ไม่ควรปลูกเงาะอย่างเดียวล้วนๆเป็นแปลงขนาดใหญ่ แต่ให้ปลูกร่วมหรือแซมสลับกับไม้ผล
อย่างอื่นที่มีนิสัยออกดอกติดผลปีละรุ่นและช่วงเวลาใกล้เคียงกัน  เช่น  ทุเรียน  มังคุด  ลองกอง
มะไฟ เป็นต้น
    * ช่วงไม่มีผลอยู่บนต้น  หรือหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วถึงเข้าสู่ฤดูการบำรุงเพื่อเอาผลผลิต ซึ่งบน ต้นจะว่างเปล่า ให้บำรุงต้นด้วย “ฮอร์โมนน้ำดำ” อย่างสม่ำเสมอ 1-2 เดือน / ครั้ง  จะช่วยให้ต้นมีความสมบูรณ์สูง พร้อมสำหรับการบำรุงเพื่อเอาผลผลิตรุ่นต่อไป ดี
    * ให้ อีเทฟอน 50 มก./น้ำ 20 ล.  หรือจิ๊บเบอเรลลิน 25 กรัม/น้ำ 20 ล.  ฉีดพ่นพอเปียกใบทั่วต้น  1 รอบ ช่วงผลเริ่มเปลี่ยนสี  จะช่วยบำรุงให้สีเปลือกผลสม่ำเสมอกันทุกผลโดยไม่ส่งผลเสียต่อคุณภาพ                  
    * เงาะในเขตภาคตะวันออก จะออกดอกเดือนช่วงเดือน ธ.ค.-ม.ค. และผลแก่เก็บเกี่ยวในช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค.  เงาะภาคใต้ออกดอกช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค. และผลแก่เก็บเกี่ยวในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย.  ส่วนเงาะภาคอิสานออกดอกช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. และผลแก่เก็บเกี่ยวในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย.                     

      สายพันธุ์               
      โรงเรียน (ดีที่สุด).  บางยี่ขัน.  ทองเมืองตราด.  สายหมอก..........ส่วนเงาะพันธุ์อากร.  สีนาก.  ตาวี.  เจ๊ะมง.  และปีนังเบอร์ 4. ปัจจุบันนี้ไม่นิยมปลูก
                 
      การขยายพันธุ์
               
      ตอน.   ติดตา.  เพาะเมล็ดเลี้ยงตอแล้วติดตา (ดีที่สุด) โดยติดตาบริเวณโคนกิ่งห่างจากลำต้น 15-20 ซม. ระยะที่ใบปลายกิ่งแก่จัด  ส่วนการเพาะเมล็ดมักกลายพันธุ์        
      หมายเหตุ :        
      เนื่องจากเงาะเป็นไม้ประเภทไม่มียางหรือมีน้อยมาก  ทำให้การขยายพันธุ์ด้วยวิธี  ทาบกิ่ง  หรือ  เสียบยอด  รวมทั้งเสริมรากด้วยวิธีทาบ  ทำได้ค่อนข้างยาก
                
      ระยะปลูก
                
    - ระยะปกติ  8 X 8  ม. หรือ  8 X 10 ม.                
    - ระยะชิด   4 X 4  ม. หรือ  6 X 6  ม.                 

     เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ                  
   - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
   - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง               
   - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง                 
   - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
   - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง                
     หมายเหตุ:                
   - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน                 
   - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้                  
   - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง                

     เตรียมต้น               
     ตัดแต่งกิ่ง :
               
   - เงาะออกดอกจากซอกใบปลายกิ่งอายุข้ามปี การตัดแต่งกิ่งประจำปีหรือหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ตัดเฉพาะกิ่งที่ออกดอกติด ผลเพื่อสร้างใบใหม่สำหรับให้ออกดอกติดผลในปีต่อไป  ส่วนกิ่งที่ไม่ออกดอกติดผลในปีนี้ให้คงไว้แล้วบำรุงต่อไป               
   - ต้นอายุต้นยังน้อยไม่เกิน 5 ปีตั้งแต่เริ่มปลูกให้ตัดแต่งกิ่งปกติ   แต่ต้นที่อายุ 5 ขึ้นไป   ต้นใหญ่หรือทรงพุ่มแน่นทึบให้ตัดแต่งกิ่งแบบทำสาวโดยเหลือกิ่งกับใบเลี้ยง ต้นไว้เพียง 10-15 เปอร์เซ็นต์   กิ่งที่แตกใหม่จะให้ผลผลิตในปีรุ่งขึ้น (เงาะออกดอกติดผลจากกิ่งข้ามปี) และคุณภาพดี จากนั้นให้ตัดแต่งกิ่งแบบทำสาวทุก 5 ปีหรือเมื่อต้นใหญ่ทรงพุ่มแน่นทึบ
   - ตัดแต่งกิ่งปกติควรตัดให้เหลือใบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์และเมื่อใบอ่อนชุดใหม่ออกมาแล้วให้มีใบประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะช่วยให้การผลิดอกติดผลดี                     
   - ตัดกิ่งยอดประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ  นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสง แดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดีอีกด้วย               
   - ตัดกิ่งที่บังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดสามารถส่องได้ถึงทุกกิ่งทั่วทรงพุ่ม  กิ่งที่ได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งที่ไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดด น้อย
   - นิสัยเงาะมักออกดอกหลังจากกระทบหนาวได้ระยะหนึ่ง  ดังนั้นจึงควรตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการ บำรุงต่อไปตามลำดับจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งใน ช่วงอื่น หมายความว่า หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วยังไม่ต้องตัดแต่งกิ่งแต่ให้บำรุงตามปกติต่อไป ก่อน  จนกระทั่งเข้าสู่หน้าฝนจึงลงมือตัดแต่งกิ่ง               
     ตัดแต่งราก :                 
   - เงาะที่ต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งรากแต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มี ประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นให้ใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
   - ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้น

 ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อเงาะ       

    1.เรียกใบอ่อน                   
      ทางใบ :                   
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 46-0-0(400 กรัม)หรือ 25-5-5(400 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง) + จิ๊บเบอเรลลิน 10 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
    - ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ทุก  7-10  วัน               
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                
      ทางราก :               
    - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1-2) กก./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
    - ให้น้ำเปล่า  ทุก  3-5  วัน               
      หมายเหตุ :                
    - ใบอ่อนเมื่อออกมาแล้วต้องระวังโรคและแมลงศัตรูเข้าทำลายใบ  เพราะหากใบอ่อนชุดใดชุดหนึ่งถูกลายเสียหายจะต้องเริ่มเรียกชุด 1 ใหม่  ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและกำหนดระยะการออกดอกติดผลต้องเลื่อนออกไปอีก ด้วย               
    - เรียกใบอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยทางรากสูตร  25-7-7  จะช่วยให้ได้ใบที่มีขนาดใหญ่หนา  มีพื้นที่หน้าใบสังเคราะห์อาหารมากและคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตร เสมอ                
    - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม  เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การ เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  การสะสมอาหารเพื่อการออก  การปรับ ซี/เอ็น เรโช.  การเปิดตาดอก  ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น  และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการ ปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก....แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ ได้                
    - เงาะต้องการใบอ่อน 3 ชุด โดยมีวิธีทำดังนี้               
      วิธีที่ 1.....ถ้า ต้นสมบูรณ์ดีมีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปี แล้ว  หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย  ใบชุด  2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่ควรเกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดให้เรียกใบอ่อนชุด 3 ต่อได้เลยอีกเช่นกัน  การที่ใบอ่อนชุด 2 ออกไม่พร้อมกันนั้นจะส่งผลให้ใบอ่อนชุด  3 ออกไม่พร้อมกันทั้งอีกด้วย  และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด  3 เพสลาดจึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ               
     วิธีที่ 2.....หลัง จากใบอ่อนชุดแรกแผ่กางแล้วเร่งให้เป็นใบแก่  ได้ใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด  2 เมื่อใบอ่อนชุด 2 แผ่กางให้เร่งเป็นใบแก่  เมื่อใบชุด  2 เป็นใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบก็ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด  3 และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด  3 เพสลาดจึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ
     (วิธีที่ 1 ได้ผลดีกว่าวิธีที่ 2 เพราะต้นจะมีอาการโทรมน้อยกว่า......)         

   2.เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่                  
     ทางใบ :                 
   - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74(400 กรัม)หรือ 0-39-39(400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน                
   - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
     ทางราก :               
   - ให้ 8-24-24(1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
   - ให้น้ำปกติ  ทุก  2-3 วัน               
     หมายเหตุ :               
   - ลงมือบำรุงเมื่อใบอ่อนชุดสุดท้ายเริ่มแผ่กาง                  
   - วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น  กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด
   - สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม.  นอกช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหาร เพื่อการออกดอกได้อีกด้วย
   - ใบอ่อนที่ปล่อยตามธรรมชาติต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 30-45 วันจึงจะเป็นใบแก่
       
   3.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก                  
     ทางใบ :               
   - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(400 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคล
เซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.ทุก 5-7 วัน ติดต่อกัน 2-3 รอบแล้วให้น้ำ 100 ล.+ เอ็นเอเอ.20 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.สลับ 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ติดต่อกัน 1-2  เดือน                
   - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
     ทางราก :               
   - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน                
   - ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน               
     หมายเหตุ :               
   - เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด                 
   - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้ เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง ในห้วงนี้ให้กลูโคสผงหรือนมสัตว์สด 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน                
   - ปริมาณ 8-24-24  หรือ 9-26-26  ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา  กล่าวคือ  ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก  ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก  ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น  แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย  ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
   - ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุด เดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย  แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่น กันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้น จึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช.  ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้ง ต้นนั่นเอง             

    4.ปรับ  ซี/เอ็น  เรโช                 
      ทางใบ                
    - ในรอบ 7 วันให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(400 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                  
      ทางราก               
    - เปิดหน้าดินโคนต้น               
    - งดน้ำเด็ดขาด                
      หมายเหตุ :               
    - วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และลดปริมาณ เอ็น. (อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกหลังการเปิดตาดอก
    - ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่ม อีกแต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจแนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคส หรือนมสัตว์สดซ้ำอีก 1-2 รอบ     โดยเว้นระยะให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน
    - ไม้ผลที่ผ่านการบำรุงมาอย่างดีแล้วต้องกระทบหนาวจึงออกดอกดีนั้น  ช่วงขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ถ้ามีการให้ “นมสัตว์สดหรือกลูโคส + 0-52-34 หรือ 0-42-56 + สังกะสี” ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด 1-2 รอบ ให้รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอก  จากนั้น อีก 20 วัน ให้อีกเป็นรอบ  2 ก็จะช่วยให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกและส่งผลให้เปิดตาดอกแล้วมีดอกออกมาดี อีกด้วย
    - ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช จะต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช. จะต้องไม่มีฝนตกเพราะถ้ามีฝนตกลงมามาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว
    - ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช. จะสมบูรณ์ดีหรือไม่ให้สังเกตจากต้น  ถ้าต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี.มากส่วนปริมาณ เอ็น.เริ่มลดลง และความพร้อมของต้นก่อนลงมือเปิดตาดอกสังเกตได้จากลักษณะใบใหญ่หนาเขียว เข้ม  ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด ใบกรอบเปราะ  ข้อใบสั้น  หูใบอวบอ้วน ตาดอกโชว์เห็นชัด               
    - การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น  อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก  แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น               
    - เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่องระบายน้ำ ใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย               
    - กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานมากกว่าสวนพื้นราบยกร่อง แห้งจึงจะทำให้ใบสลดได้  อาจส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช โดยกะระยะเวลาให้หน้าดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตกระแหงและมีความชื้นไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช  พอดี          

    6.เปิดตาดอก               
      ทางใบ :               
      สูตร 1
……..ให้ น้ำ 100 ล.+ สาหร่ายทะเล 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.20 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
      สูตร 2....ให้น้ำ 100 ล.+ 13-0-46(500 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.20 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
      เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งหรือทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกัน ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ                
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน                
      ทางราก :               
    - ให้ 8-24-24(1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.               
    - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน               
      หมายเหตุ :               
    - เลือกใช้ให้ทางใบด้วยสูตรใดสูตรหนึ่งหรือใช้ทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกันก็ได้
    - หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ       

    6.บำรุงดอก               
      ทางใบ               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(400 กรัม + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ฮอร์
โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ  
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก  3  วัน                  
      ทางราก                 
    - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเช่นเดิม                  
    - ให้ 8-24-24 (½-1 กก)./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.               
    - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น               
      หมายเหตุ :               
    - ธรรมชาติของดอกเงาะเมื่อออกมาครั้งแรกจะเป็นดอกตัวผู้ก่อน  แล้วจึงเจริญพัฒนาเป็นดอกตัวเมีย  การมีแต่ดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียล้วนๆจึงไม่อาจติดเป็นผลได้  แนวทางแก้ไข คือ เมื่อดอกในช่อบานได้ 1 ใน 4 ส่วนของช่อและ 1 ใน 4 ของดอกทั่วทั้งต้น  ให้ฉีดพ่นฮอร์โมนเอ็นเอเอ.
(เดี่ยวๆ)ครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั่วทรงพุ่ม                 
     
      เทคนิคการฉีดพ่นฮอร์โมน เอ็นเอเอ.                  
      วิธีที่ 1…….ให้ โดยฉีดพ่นเป็นวงยาวทางระดับรอบทรงพุ่ม ความกว้างของวงเท่ากับ 1 ใน 4 ของพื้นที่ความสูงพุ่มตั้งแต่ยอดลงมาถึงกิ่งล่างสุด               
      วิธีที่ 2 ……ให้โดยฉีดพ่นเป็นเส้นตรงทางดิ่งจากยอดลงมาถึงกิ่งล่างสุด จำนวน 4 เส้น เมื่อรวมพื้นที่ของทั้ง 4 เส้นแล้วเท่ากับ 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งทรงพุ่ม               
      วิธีที่ 3 ……ให้โดยผสมฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ในกระป๋องทรงสูงผูกติดปลายไม้ แล้วยกขึ้นสวมช่อดอกที่พร้อมแล้วทั้งช่อ  หลายๆช่อกระจายทั่วพื้นที่ทรงพุ่มหรือคิดจำนวนแล้วได้ 1 ใน 4 ของจำนวนช่อดอกทั้งหมดในต้น               
    - ไม่ควรใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ทำเอง เพราะเปอร์เซ็นต์หรืออัตราความเข้มข้นไม่แน่นอน  แต่ให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์ที่มีเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นแน่นอน และใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ด้วยความความระมัดระวัง  เพราะถ้าใช้ในอัตราเข้มข้นเกินจะทำให้ดอกร่วงทั้งหมดหรือใช้ในอัตราเข้มข้น น้อยเกินไปก็จะไม่ได้ผล นอกจากความเข้มข้นแล้ว อุณหภูมิขณะใช้งานก็มีผลต่อประสิทธิภาพอีกด้วย               
    - ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี               
    - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตาม ความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก    ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มพอเปียกใบก็ ได้               
    - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้                   
    - การชักนำให้แมลงเข้ามาเป็นผู้ช่วยผสมเกสรหรือมีสายลมช่วยพัดละอองเกสรตัวผู้ (ต่างต้น) ไปผสมกับเกสรตัวเมียก็ได้               
    - ช่วงที่เงาะออกดอกแล้วมีใบอ่อนออกมาด้วย  ถ้ามีใบอ่อนออกมาไม่มากนักให้บำรุงตามปกติต่อไป  แต่ถ้ามีใบอ่อนออกมาจำนวนมาก ให้งดน้ำสักระยะหนึ่งจนใบอ่อนที่แตกใหม่ร่วงแล้วจึงกลับมาบำรุงไปตามปกติต่อ ไป               
    - ดอกที่ไม่สมบูรณ์ผสมกันแล้วพัฒนาจนเป็นผล  จะได้ผลไม่สมบูรณ์ เรียกว่า  “เงาะขี้ครอก”  ลักษณะผลเล็ก  แคระแกร็น  เนื้อหนาไม่มีเมล็ด  รสชาติไม่ดี.......สาเหตุที่ดอกไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร  ฮอร์โมน  สภาพอากาศ  น้ำ  โรคและแมลง      

   7.บำรุงผลเล็ก                 
     ทางใบ               
   - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(400 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอ
เอ.25 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250
ซีซี. ทุก 7-10 วัน   ฉีดพ่นพอเปียกใบ                  
   - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก  2-3  วัน                 
     ทางราก               
   - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการให้เมื่อช่วงเตรียมดิน
   - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(½-1 กก.)/เดือน/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./
เดือน
   - ให้น้ำปกติ  ทุก  3-5  วัน               
   - คลุมโคนต้นหนาๆด้วยเศษพืชแห้ง               
     หมายเหตุ :               
   - การให้น้ำต้องค่อยๆเพิ่มปริมาณเพื่อให้ต้นปรับตัวทัน  จนกระทั่งถึงอัตราปกติ
   - ให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน. 1-2 ครั้ง
   - เทคนิคการให้ปุ๋ยทางใบด้วยสูตร 15-45-15 ซึ่งเป็นสูตรเดียวกับบำรุงดอกนั้น วัตถุประ
สงค์เพื่อให้ P. สร้างเมล็ดก่อนในช่วงแรก ซึ่งเมล็ดนี้จะเป็นผู้สร้างเนื้อต่อไปเมื่อผลโตขึ้น 1-2
รอบ โดยแบ่งช่วงเวลาห่างเท่าๆกัน จะช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์ต้นให้ดี ขึ้น ซึ่งจะส่งผลไปถึงช่วงผลขนาดกลางถึงก่อนเก็บเกี่ยว                   
   - ระยะผลเล็ก ถ้าถูกแมลงปากกัด/ปากดูด (เพลี้ย  ไร) เข้าทำลายจะทำให้รูปทรงผลและคุณภาพภายในผลเสียไปจนกระทั่งเป็นผลใหญ่      

   8.บำรุงผลกลาง               
     ทางใบ                     
   - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(400 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ไคโตซาน 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
   - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
     ทางราก               
   - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14(½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
   - ให้น้ำเปล่าปกติ  ทุก  3-5  วัน               
     หมายเหตุ :               
   - เริ่มให้เมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล การที่จะรู้ว่าผลเริ่มเข้าไคลแล้วหรือยังต้องใช้วิธีสุ่มเก็บผลมาผ่าดูเมล็ด ภายใน                
   - ให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ โดยแบ่งช่วงเวลาห่างเท่าๆกัน จะช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์ต้นให้ดีขึ้น  ซึ่งจะส่งผลไปถึงช่วงก่อนเก็บเกี่ยว                
   - ช่วง  “ผลกลาง-ผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว”   ถ้าต้นขาดน้ำระยะเวลานานๆแล้วได้รับน้ำจำนวนมากอย่างฉับพลันกะทันหัน (ฝนตก) จะเกิดอาการผลแตก                   
   
   9.บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว                 
     ทางใบ :               
   - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74(400 ซีซี.) หรือ 0-0-50(400 ซีซี.) สูตรใดสูตรหนึ่ง + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.หรือ น้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ระวังอย่าให้ลงถึงพื้น
   - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน                 
     ทางราก               
   - เปิดหน้าดินโคนต้น                 
   - ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง(1/2-1 กก./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
   - ให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำจนเก็บเกี่ยว               
     หมายเหตุ :                              
   - การให้ 0-21-74 หรือ 0-0-50 ทางใบควบคู่กับให้ 13-13-21 ทางรากจะทำให้เงาะมีรสหวานจัดขึ้นไปอีกจนเรียกได้ว่า “หวานทะลุองศา บริกซ์”               
   - การให้ “มูลค้างคาวสกัด” ในอัตราเข้มข้นเกินไปอาจทำให้ผลแตกได้ ดัง นั้น ช่วงบำรุงผลขนาดกลางจะต้องสร้างเปลือกให้หนาไว้ก่อนด้วยปุ๋ยทางรากสูตร 21-7-14  ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาปุ๋ยแรงจนผลแตกได้               
   - หากต้องการให้เงาะมีรสหวานพอดีๆหรือแน่ใจว่าบำรุงเร่งหวานทางรากดีแล้วก็ ไม่จำเป็นต้องเร่งหวานด้วยปุ๋ยทางใบก็ได้  ทั้งนี้ให้พิจารณาตามความเหมาะสม               
   - การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะ ช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติ บำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย
                                     
           การบังคับเงาะให้ออกนอกฤดู
                

     ในเมื่อไม่มีเงาะทะวาย  พันธุ์เบา  พันธุ์หนัก และยังไม่มีสารหรือฮอร์โมนใดๆบังคับให้เงาะออกดอกติดผลในช่วงที่ต้องการหรือ เป็นเงาะนอกฤดูได้ แต่ธรรมชาติทางพัฒนาการของเงาะก็ไม่ต่างอะไรกับไม้ผลอื่นๆ  นั่นคือ  การที่จะทำให้เงาะออกดอกติดผล  ก่อนหรือหลัง  ฤดูกาลปกติยังมีโอกาสด้วยการปรับระยะเวลาปฏิบัติบำรุงแต่ละขั้นตอนเร็วขึ้น เพื่อเร่งให้เป็นเงาะก่อนฤดูกาล หรือยืดระยะเวลาในการปฏิบัติบำรุงแต่ละขั้นตอนออกไปเพื่อให้เงาะออกหลังฤดู ปกติเท่านั้น กล่าวคือ..
                
     ทำเงาะล่าฤดู :                
   1.หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นปีนี้แล้วชะลอเวลาฟื้นฟูสภาพต้นออกไป 1-2 เดือน  จากนั้นจึงเริ่มลงมือบำรุงขั้นตอนที่ 1 (ตัดแต่งกิ่งและเรียกใบอ่อน) ตามปกติ               
   2.เรียกใบอ่อน 2 ชุด  เมื่อใบอ่อนแต่ละชุดออกมาแล้วไม่ต้องเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่แต่ปล่อยให้แก่เองตามธรรมชาติ               
   3.เพิ่มช่วงเวลาบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกจากเดิมที่เคยใช้เวลา 2 เดือนเป็น 3 เดือนหรือ  3 เดือนครึ่ง               
   4.การลงมือ  เปิดตาดอก-บำรุงดอก-บำรุงผลเล็ก ต้องทำตามปกติ  ซึ่งไม่สามารถยืดเวลาออกไปให้ช้าหรือเร่งเวลาให้เร็วขึ้นได้               
   5.ช่วงบำรุงผลกลางสามารถยืดเวลาออกไปได้ 15-20 วันโดยบำรุงด้วยสูตร ยืดอายุผลให้แก่ช้า  เช่นเดียวกันกับส้มเขียวหวานหรือมะนาว  ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถกำหนดระยะเวลาเก็บเกี่ยวได้
   6.บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวตามปกติ                 
     หมายเหตุ :                              
     การใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.(เดี่ยวๆ)ในอัตราเข้มข้นกว่าปกติ 25-50 เปอร์เซ็นต์ จะมีผลทำให้ดอกตูมร่วงหลัง  จากนั้น 1-2 เดือนต้นจะแทงช่อดอกชุดใหม่เอง  ซึ่งดอกชุดใหม่นี้จะพัฒนาเป็นผลล่าฤดูได้  อัตราการใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. เพื่อทำให้ดอกร่วงแล้วออกมาใหม่จะได้ผลก็ต่อเมื่อต้นผ่านการบำรุงมาจน สมบูรณ์เต็มที่อย่างแท้จริง และสภาพอากาศเอื้ออำนวยเท่านั้น
     (อัตราใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ช่วงสภาพอากาศร้อนจัดให้ลดอัตราใช้ลง 10-20 เปอร์
เซ็นต์ และช่วงอากาศหนาวเย็นให้เพิ่มอัตราใช้ขึ้น 10-20 เปอร์เซ็นต์  ของอัตราใช้เมื่อสภาพอากาศปกติเสมอ)                

      ทำเงาะก่อนฤดู :               
    1.ไว้ผลรุ่นปีการผลิตนี้น้อยๆ  พร้อมกับบำรุงเต็มที่  เพื่อไม่ให้ต้นโทรม
    2.บำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวรุ่นปีการผลิตนี้ให้เร็วขึ้น โดยให้ทางใบด้วย 0-21-74 และให้ทางรากด้วย 8-24-24               
    3.เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วตัดแต่งกิ่ง  ฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาเรียกและใบอ่อนทันที                
    4.เรียกใบอ่อน 1 ชุด  ใบอ่อนแผ่กางแล้วข้ามขั้นตอนเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่.  สะสมอาหารเพื่อการออกดอก.  ปรับ ซี/เอ็น เรโช.  ไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกเลย               
    5.บำรุงขั้นตอน  บำรุงดอกตูม-บำรุงผลเล็ก  ปฏิบัติตามปกติ               
    6.บำรุงขั้นตอน  ผลกลาง-ผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว  ด้วยสูตร  เร่งผลให้แก่เร็ว  ตามปกติ
      หมายเหตุ :                              
      การบังคับเงาะให้ออก “ก่อน” หรือ “หลัง” ฤดูกาลจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อต้นมีความสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์อย่าง แท้จริงโดยผ่านการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 2-3 ปี               
      การบริหารปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหารสายพันธุ์-โรค)จะต้องเหมาะสมตรง ตามความต้องการทางธรรมชาติหรือนิสัยของเงาะอย่างแท้จริง นานติดต่อหรือต่อเนื่องมาหลายๆปี               
    - หลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กางแล้วลงมือเปิดตาดอกเลยนั้น จะต้องฉีดพ่นทางใบด้วยสูตร  “เปิดตาดอก”   หลายครั้งอย่างต่อเนื่องซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาถึง 2 เดือนก็ได้   

view