สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กล้วย (ทั่วไป)

กล้วย
[ กล้วยหอม.   กล้วยน้ำว้า.   กล้วยไข่.  กล้วยเล็บมือนาง. ]
              

            
           ลักษณะทางธรรมชาติ  (ทุกสายพันธุ์)
       * ในประเทศไทยมีกล้วยหลายร้อยสายพันธุ์ ปัจจุบันสถานีวิจัยปากช่อง นครราชสีมา ได้รวบรวมพันธุ์กล้วยที่มีค่าทางเศรษฐกิจไว้มากกว่า 50 สายพันธุ์
       * เป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียวหลังจากให้ผลผลิตแล้วต้นตายแต่มีหน่อสืบต่อ (ไม่แยกหน่อไปปลูกใหม่) ทำให้กลายเป็นพืชอายุยืนนานหลายสิบปีได้  โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้าที่มีหน่อสืบแทนต้นแม่มีอายุยืนนานหลายปี  แต่ผลผลิตที่เกิดจากหน่อสืบต่อแทนต้นแม่นั้นคุณภาพจะด้อยลงจนถึงขนาดมีเมล็ด
       * ระหว่างกล้วยน้ำว้า  กล้วยหอม  กล้วยไข่  ปลูกในแปลงเดียวกัน  บำรุงรักษาอย่างเดียวกัน  กล้วยไข่จะออกเครือก่อนแล้วกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้าจะออกเครือที่หลังตาม ลำดับ
       * เป็นพืชอวบน้ำต้องการความชุ่มชื้นสูงทั้งในดิน ผิวดินและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง    ไม่ชอบน้ำขังค้างนาน ต้นที่ขาดน้ำจะโตช้า ให้ผลผลิตไม่ดี  ถ้าอากาศหนาวเย็นจะโตช้าและผลก็แก่ช้าด้วย
       * ขณะต้นแม่ยังไม่ออกเครือไม่ควรแยกหน่อเพราะจะทำให้กระทบกระเทือนต่อต้นแม่  แต่ให้ตัดต้นหน่อจนเหลือแต่ตอสูงจากพื้นประมาณ 20-30 ซม.  ไม่นานหน่อนั้นจะแตกยอดใหม่    และให้ตัดหน่อทุกครั้งเมื่อความสูง 80 ซม.- 1 ม.  กว่าต้นแม่ออกเครือซึ่งอาจจะต้องตัดหน่อ 2-3 รอบ  การตัดหน่อจะทำให้ตัวหน่อเองมีเหง้าขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อแยกนำไปปลูกจะได้ผลผลิตที่ดี
       * ตอบสนองต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทุกสูตร) และฮอร์โมนธรรมชาติ (ทำเอง) ดีมาก   ถ้ามีการใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพตั้งแต่เตรียมดินจนถึงบำรุงต้นอย่างต่อเนื่อง ลำต้นจะสูงใหญ่มากจนอาจเกิดปัญหาในการค้ำต้นและการเก็บเกี่ยวผลผลิต  แก้ไขโดยเมื่ออายุต้นได้ 90 วัน มียอดใหม่หลังตัดตอ ให้บำรุงทางใบด้วย 0-42-56 หรือ นมสัตว์สดหรือกลูโคส 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 20-30 วัน ควบคู่กับให้ทางรากด้วย 8-24-24  นอกจากจะทำให้ต้นเตี้ยลงแล้วยังช่วยให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอก (ปลี) ซึ่งส่งผลให้ออกดอกดีอีกด้วย
       * รากเจริญทางยาวได้เดือนละ 1 ม. ซึ่งจะเจริญทางยาวตลอด 3 เดือนแรก หลังจากนั้นไม่เจริญทางยาวอีกได้แต่แตกรากแขนงออกทางข้าง ดังนั้นการให้น้ำและธาตุอาหารทางรากจึงต้องให้แบบกระจายเต็มทั่วแปลงหรือ เต็มพื้นที่ทรงพุ่มรัศมี 2-3 ม.
       * งดใช้ยาฆ่าหญ้าทุกชนิดโดยเด็ดขาด แต่ให้ใช้วิธีกำจัดหญ้าหรือวัชพืชด้วยการถอนแล้วปล่อยทิ้งไว้คลุมหน้าดิน ละอองยาฆ่าหญ้าที่ปลิวลมไปกระทบใบกล้วยจะทำให้ใบไหม้ นอกจากนี้ยาฆ่าหญ้าที่ปลิวลงสัมผัสพื้นดินโดยตรงและแทรกอยู่ในต้นหญ้าหรือ วัชพืช เมื่อต้นหญ้าหรือวัชพืชเน่าสลาย ยาฆ่าหญ้าก็จะละลายออกมาปนเปื้อนกับเนื้อดินทำให้ดินเป็นกรดอีกด้วย
       *  แปลงปลูกที่มีลมแรงควรมีไม้บังลม
       * ไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิมแบบรุ่นต่อรุ่น แนะนำให้แบ่งพื้นที่เป็นสองแปลง ระหว่างที่แปลงหนึ่งปลูกกล้วยนั้นอีกแปลงหนึ่งให้ปลูกพืชอายุสั้นบำรุงดิน เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วให้ไถกลบเศษซากต้นลงดินใช้เป็นปุ๋ยพืชสด     และเมื่อแปลงที่กล้วยเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วก็ให้เปลี่ยนเป็นปลูกพืชตระกูล ถั่ว ส่วนแปลงที่เคยปลูกพืชตระกูลถั่วก็ให้เปลี่ยนเป็นปลูกกล้วยแทน สลับกันไปมาเช่นนี้จะทำให้ปลูกกล้วยและถั่วได้หลายรุ่น
       * รากมีจุลินทรีย์แอ็คติโนมัยซิส  การให้จุลินทรีย์หน่อกล้วยตั้งแต่ช่วงเตรียมดินและให้ต่ออีกเป็นครั้งคราว (1-2 เดือน/ครั้ง) หลังจากหน่อยืนต้นได้แล้ว  นอกจากช่วยบำรุงต้นแล้วยังช่วยบำรุงดินอีกด้วย
       * ธรรมชาติจะออกเครือทางทิศตรงข้ามกับไหลที่งอกออกมาจากต้นแล้วเกิดเป็นหน่อ เสมอ เมื่อต้องการให้ต้นออกเครือมาทางทิศใดก็ให้หันด้านตรงข้ามกับไหลไปทางทิศ นั้น  ถ้ากล้วยทุกต้นออกเครือทางทิศด้านเดียวกันพร้อมกันทั้งแถวจะช่วยให้การ ปฏิบัติงานง่ายขึ้น 
       * แต่ละต้นย่อมมีหลายหน่อ หน่ออยู่ลึกเป็นหน่อสมบูรณ์ดีกว่าหน่ออยู่ตื้น เพื่อให้หน่อทุกหน่อเป็นหน่อสมบูรณ์ก็ให้พูนโคนต้นให้สูงขึ้นด้วยเศษซากพืช แห้งหรือดินเลนก้นร่อง
       * อายุต้น 4-6 เดือน (ตามชนิดสายพันธุ์) หลังปลูก จะเริ่มมีหน่อ ให้ตัดต้นหน่อทิ้งไปเพื่อไม่ให้ต้นแม่ต้องรับภาระส่งอาหารไปเลี้ยงหน่อซึ่ง เกิดใหม่ จะทำให้ต้นแม่มีสารอาหารส่งไปเลี้ยงผลบนต้นอย่างเพียงพอ หรือระหว่างที่ต้นมีเครืออยู่หรือยังไม่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วมีหน่อแทงขึ้น มาก็ให้ตัดต้นหน่อทิ้งทุกครั้ง  ยกเว้นหน่อที่จะเก็บไว้ให้โตต่อแทนต้นแม่
       * ระหว่างต้นมีเครืออยู่  ถ้าขุดแยกหน่อออกมาจะทำให้ต้นแม่ชะงักการเจริญเติบโต
       * เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตหรือตัดเครือแล้วให้ล้มต้นแม่  นำเศษซากต้นแม่ออก   จากนั้นบำรุงหน่อต่อไปจนได้ขนาดเหง้าและลำต้นใหญ่ตามต้องการ  การแยกหน่อจะทำได้หลังจากตัดเครือและล้มต้นแม่แล้วเท่านั้น
       * ปลูกกล้วยแบบ  รุ่นต่อรุ่น  หมายถึง  การปลูกให้ได้ผลผลิตพร้อมกันทั้งแปลง  ด้วยระยะปลูก 2.5 X 2 ม. หลังจัดเก็บเกี่ยวแล้วล้มต้น  นำเศษซากต้นออก  ขุดแยกหน่อที่มีทั้งหมดออก  ปรับปรุงบำรุงดินและจัดแปลงใหม่ จากนั้นลงมือปลูกใหม่พร้อมกันทั้งแปลง ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตพร้อมกันทั้งแปลงเหมือนการปลูกครั้งแรก..........การ ปลูกแบบหลุมละ 2 ต้นแล้วจัดระยะห่างระหว่างต้น/แถวเพิ่มขึ้นอีก 1 ม.เป็น 3.5 X 3 ม. จะทำให้ได้จำนวนต้นเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่แปลงปลูกด้วยระยะ 2.5 X 2 ม. หรือพื้นที่เท่าเดิม
       * ปลูกกล้วยแบบ  ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวผลผลิตหลายรุ่น  หมายถึง  การปลูกครั้งแรกแบบพร้อมกันทั้งแปลงหรือไม่พร้อมกันก็ได้ด้วยระยะห่าง  4 X 4 ม.  หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตต้นใดแล้วนำเศษซากต้นแม่ออกพร้อมกับขุดแยกหน่อ ตามออกทั้งหมด ให้คงเหลือหน่อชิดที่อยู่คนละด้านของต้นแม่ไว้ 2 หน่อ เพื่อให้เจริญเติบโตเป็นต้นแม่ในรุ่นต่อไป  ซึ่งหน่อชุดใหม่ที่คงไว้นี้จะให้ผลผลิตได้ไม่ต่างจากต้นแม่
       * การปลูกกล้วยแบบ  มีผลผลิตตลอดปี  ให้แบ่งแปลงปลูกเป็นส่วนๆ (โซนนิ่ง) 3-4 แปลง แล้วปลูกกล้วยแต่ละรุ่นให้ห่างกัน 3-4 เดือน แปลงไหนแก่ก่อนเก็บก่อนและแปลงไหนแก่ทีหลังเก็บทีหลัง แต่ละแปลงจะมีกล้วยแก่ให้ทยอยเก็บ 2-3 เดือน  เมื่อรวมทุกแปลงแล้วทำให้มีผลผลิตขายตลอดปี
       * หน่อหรือต้นแม่เมื่อไม่ต้องการเก็บไว้ทำพันธุ์ต่อให้ทำลายโดยตัดตอ คว้านไส้กลางให้เป็นแอ่งแล้วหยอดน้ำมันพืชหรือน้ำมันก๊าดลงไป 1 ช้อนโต๊ะ เหง้าของหน่อหรือต้นแม่นั้นจะเน่าไม่แตกยอดใหม่ขึ้นมาอีก จากนั้นจะเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ยต่อไป
       * ช่วงยังไม่ออกเครือควรให้มีใบ 10-12 ใบ  ช่วงกำลังออกเครือให้มีใบ 9-10 ใบ  และช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวให้มีใบ 4-5 ใบก็พอ                
       * ใบกล้วยมีนวลใบมาก  การฉีดพ่นสารอาหารทางใบจึงต้องใช้สารจับใบร่วมด้วยทุกครั้ง
       * การปลูกกล้วย (ทุกสายพันธุ์) ให้ได้ผลผลิตเก็บเกี่ยวพร้อมกันหรือระยะเวลาใกล้เคียงกันต้องใช้ต้นพันธุ์ จากเพาะเนื้อเยื่อ                           
       * เทคนิคการบำรุงด้วย  ฮอร์โมนสมส่วน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม   อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวจะช่วยให้ได้ต้น สมบูรณ์ ผลขนาดใหญ่  ยาว  เนื้อแน่น  กลิ่น  รส และสีดี
       * วิธีรักษากล้วยให้สุกช้า หลังจากตัดเครือลงมาจากต้นแล้วให้นำลงแช่น้ำในโอ่งจนท่วมทั้งเครือหรือตัด ออกเฉพาะหวี แช่นาน 3-5-7 วัน ตามความต้องการยืดอายุนานสุด ระหว่างแช่อยู่ในน้ำนี้กล้วยจะไม่สุกแต่จะนิ่งอยู่อย่างนั้น จนกระทั่งนำขึ้นจากน้ำ ผึ่งลมให้แห้งแล้วบ่ม  กล้วยก็จะเริ่มสุกเองตามปกติ
       * บำรุงกล้วยให้รสชาติหอมหวาน  ก่อนตัดเครือ 7-10 วัน  ให้เจาะลำต้นด้านบน ณ ความสูง 3 ใน 4 ของความสูงลำต้นจากพื้น หรือเจาะลำต้นด้านล่าง ณ ความสูงจากพื้น 1 ฝ่ามือ  เลือกเจาะจุดใดจุดหนึ่งด้วยไม้ปลายแหลมมนขนาดตะเกียบ  ลึกถึงไส้กลาง 3 รูของทั้ง 3 ด้านเป็นแฉกเหมือนตรารถเบนซ์  ให้ปลายรูทั้ง 3 ชนกันที่ไส้กลางพอดี  ใส่  "แป้งข้าวหมาก"
ลงไปจนเต็มรูทั้ง 3 แล้วปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้นจนถึงเก็บเกี่ยว เมื่อนำไปบ่มจนสุกแล้วรับประทาน
จะมีกลิ่นหอมรสหวานขึ้น  บางคนบอกว่ามีกลิ่นและรสแอลกอฮอร์น้อยๆทำให้รับประทานได้
อร่อยขึ้น
       * ก่อนตัดเครือ 2-3 อาทิตย์  ฉีดพ่นด้วยน้ำคั้นมะเขือเทศสุก  ให้ทั่วต้นแต่เน้นที่เครือ
โดยตรง 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 1 อาทิตย์  หลังจากตัดเครือและนำไปบ่มจนสุกแล้วจะได้
รสชาติและกลิ่นดีมาก
       * ใช้เกลือแกง 1-2 กำมือ + ปุ๋ยคอกแห้งเก่าค้างปี 2-3 กก.   ผสมดินปลูกรองก้นหลุม
นอกจากช่วยป้องกันหนอนและด้วงงวงเจาะเหง้าได้แล้วยังบำรุงผลให้รสชาติดีอีกด้วย
       * คลุมโคนต้นด้วยผักปอด (ทั้งต้นและราก) ผสมปุ๋ยคอกจะช่วยบำรุงต้นให้สมบูรณ์ หน่อมาก ผลดกและคุณภาพดี
       * ห่อผลหลังจากตัดปลี 20-30 วัน ด้วยกระสอบปุ๋ยทั้งใบ หรือวัสดุอื่นที่ขนาดใหญ่สวมกล้วยได้ทั้งเครือ ตัดส่วนก้นกระสอบเปิดให้อากาศผ่านได้ หรือใช้ใบกล้วยทั้งก้าน 3-4 ก้าน ผูกโคนก้านกับเครือด้านบน จัดใบปิดหวีกล้วยให้มิดชิด ผูกรวบปลายใบที่ห่อให้เรียบร้อย..........เครือที่ห่อด้วยใบกล้วยมีคุณภาพดี กว่าห่อด้วยกระสอบปุ๋ย
       * ช่วงติดเครือใหม่ๆยังไม่ห่อผล ควรตัดใบล่างทิ้งเพื่อไม่ให้กวัดแกว่งไปถูกผลเพราะจะทำให้ผิวผลมีตำหนิได้
       * เครือกล้วยมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก จำเป็นต้องค้ำต้นด้วยการใช้ไม้ไผ่ลำขนาดเท่าแขน  ยาวหรือสูงกว่าเครือกล้วย 1-1.5 ม.จำนวน 2 อัน ใช้เชือกปอพลาสติกทบกันหลายๆชั้นยาวประมาณ 50-80 ซม.ผูกปลายไม้ค้ำทั้งสองด้านให้แน่น ค้ำต้นโดยสวมเชือกเข้าหาเครือตรงๆไม่ต้องไขว้ปลายไม้ ให้น้ำหนักเครือกล้วยอยู่บนเชือกนั้น ขยับปลายไม้ที่พื้นกางออกแล้วปักลงดินในลักษณะที่ต้นกล้วยเอนลงเล็กน้อย ......หรือใช้ไม้ไผ่ลำขนาดเท่าแขน 1 ลำ  แนบลำต้นด้านหลังของเครือ  แทงไม้ลงดินยิ่งลึกยิ่งดี  ใช้เชือกผูกต้นกล้วยเข้ากับหลัก หลายๆทบ แน่นพอประมาณ 3-4 เปราะจากโคนถึงคอ ไม้หลักนี้จะช่วยรั้งลำต้นไว้ไม่ให้เอนมากกว่าที่เป็นอยู่ขณะนั้นได้
       * ปลูกกล้วยตัดใบโดยเฉพาะให้ปลูกระยะห่าง 2 X 2  หรือ 2 X 3 ม.
 

         การเตรียมหน่อพันธุ์  (ทุกสายพันธุ์)
       - เลือกหน่อพันธุ์ที่เป็นหน่อชิด (หน่อแรกที่ออกมาจากต้นแม่) ใบแคบหรือใบธง (ยังไม่กางแผ่)  เหง้าใหญ่  ลำต้นตรง  ปลายเรียว  ถ้าเป็นหน่อที่ผ่านการตัดตอขณะที่ยังอยู่กับต้นแม่มาแล้ว 2-3 รอบซึ่งจะมีเหง้าขนาดใหญ่  หลังจากนำลงปลูกแล้วตัดตออีกเพียงรอบเดียวแล้วบำรุงต่อได้เลย            
        - หน่อรากลึกสมบูรณ์กว่าหน่อรากตื้น และหน่อเหง้าใหญ่ให้ผลผลิตดีกว่าหน่อเหง้าเล็ก
        - หน่อเหง้าเล็กเมื่อนำลงปลูกจนแตกใบอ่อนชุดใหม่สูง 1-1.20 ม.ให้ตัดต้นเหลือแต่ตอแล้วบำรุงเรียกใบใหม่ เมื่อใหม่ออกมาจนต้นสูง 1-1.20 ม.ก็ให้ตัดตอเหนือรอยตัดครั้งแรก  1 ฝ่ามือ ทำซ้ำอย่างนี้ 3รอบ ห่างกันรอบละ 1-1  เดือนครึ่ง  ก็จะได้หน่อเหง้าใหญ่เช่นกัน  เรียกว่า  เลี้ยงหน่อสร้างเหง้า  การตัดจะตัดกี่รอบก็ได้  ต้นแม่หรือหน่อจะไม่ตายตราบเท่าที่ต้นแม่ยังไม่ออกเครือ
        - เหง้ากล้วยมีตา  เมื่อเฉือนเหง้าออกเป็นชิ้นรูปลิ่ม ให้มีตาติดอยู่ชิ้นละ 1-2   ตา แล้วนำไปเพาะในกระบะเพาะด้วยวัสดุเพาะธรรมดาๆ  ตาจากเหง้าจะงอกขึ้นมาเป็นหน่อได้  1 ตาต่อ 1 หน่อ  สามารถนำไปปลูกได้เช่นกัน  แต่ต้นอาจจะไม่สมบูรณ์เท่าหน่อปกติ
        - ได้หน่อกล้วยมาแล้วตัดส่วนลำต้นออกให้หมดเหลือแต่เหง้า  นำลงปลูกโดยให้ส่วนลำต้นชี้ลงดิน  ส่วนใต้เหง้าชี้ขึ้นด้านบน  กลบดินหลุมปลูก  คลุมหลุมปลูกด้วยเศษพืชแห้ง  ให้น้ำปกติ  เหง้ากล้วยต้นนั้นจะแตกหน่อ 3-5 หน่อ/เหง้า  ซึ่งหน่อทั้งหมดนี้สามารถให้ผลผลิตที่ดีได้
        - การขุดแยกหน่อจากต้นแม่ควรขุดให้ตั้งฉาก ใช้มีดคมๆตัดก้าน (ไหล) น้ำเลี้ยง  ยกขึ้นตรงๆ ห้ามโยกเด็ดขาดเพราะจะทำให้เหง้าช้ำ  โดยเฉพาะกล้วยหอมกับกล้วยไข่ต้องระวังเป็นพิเศษ
        - หน่อที่แยกออกมาจากต้นแม่แล้ว  ถ้ามีใบมากเกินไปให้ลิดใบทิ้งเหลืองเพียง 1-2 ใบ  พร้อมกับตัดใบแห้งกาบแห้งออกให้หมด หรือถ้าหน่อมีความสูงมากเกินไปให้ตัดลำต้นแล้วต้นจะแตกยอดขึ้นมาใหม่เอง
        - หน่ออ่อนอายุยังน้อยหรือหน่อใบกว้างเป็นหน่อไม่สมบูรณ์ไม่ควรใช้ทำพันธุ์ ส่วนหน่อใบแคบหรือใบธงเป็นหน่อสมบูรณ์เหมาะสำหรับใช้ทำพันธุ์
        - หน่อแรกที่ออกมาจากต้นแม่เรียกว่า  หน่อชิด  เป็นหน่อสมบูรณ์เหมาะสำหรับใช้ทำพันธุ์ ส่วนหน่อที่เกิดต่อลำดับจากหน่อชิดเรียกว่า  หน่อตาม  เป็นหน่อสมบูรณ์น้อยกว่าหน่อชิด เมื่อนำลงปลูกแล้วต้องบำรุงเลี้ยงเหง้าให้ใหญ่เสียก่อน
         
-  วิธีขุดแยกหน่อจากต้นแม่ออกมาแล้วนำลงชำในถุง เลี้ยง (อนุบาล) ในโรงเรือนจนกระทั่งได้ใบใหม่ 2-3 ใบจึงนำลงปลูกในแปลงจริงจะช่วยให้ต้นแตกรากใหม่และโตเร็วกว่าการนำหน่อที่ แยกจากต้นแม่แล้วนำลงปลูกในแปลงจริงเลย

          เตรียมแปลง
  
        สวนยกร่องน้ำหล่อ  :

          สันแปลงสูงกว่าพื้นระดับปกติ 30-50 ซม.   กว้าง 4-5 ม.   ร่องน้ำกว้าง 1.5-2 ม.ที่ผิวน้ำ    ลึก 50-80 ซม. ก้นสอบกว้าง 30-50 ซม. ใส่น้ำในร่องน้ำให้มีน้ำหล่อตลอดเวลา  ระดับผิวน้ำต่ำกว่าระดับสันร่อง 30-50 ซม.หรืออยู่เสมอระดับพื้นเดิม
          สวนพื้นราบยกร่องแห้งหรือลูกฟูก  :
          สันแปลง (ลูกฟูก) เหมือนสวนยกร่องน้ำหล่อแต่ร่องระหว่างแปลงกว้าง 1.5-2 ม.ไม่มีน้ำหล่อ  ก้นสอบหรือไหล่ร่องเอียง

          ระยะปลูก
  
      - สันแปลงกว้าง 4-5 ม. ถ้าต้องการปลูก 2 แถว  ให้ปลูกแบบสลับฟันปลาริมสันร่อง ถ้าสันแปลงกว้าง 3-4 ม.ให้ปลูกแบบแถวเดี่ยวกลางสันร่อง..........ทั้งสองแบบระยะห่างระหว่างต้น 3-4 ม.
        - ปลูกแบบ  รุ่นต่อรุ่น   ให้ปลูกระยะห่าง 2.5-3 ม.
        - ปลูกแบบครั้งเดียวได้   ผลผลิตตลอดปี   ให้ปลูกระยะห่าง 4 X 6 ม.
 
           เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ
  
      - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา....แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
        - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง
        - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง
        - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่มล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
        - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
           หมายเหตุ  :
         - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
         - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้
         - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อกล้วย
                              (ทุกสายพันธุ์)       
       1. ระยะต้นเล็ก

           ทางใบ :

        - ให้น้ำ 100 ล. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารจับใบ 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.    ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นดินโคนต้น  ช่วงเช้าแดดจัด  ทุก 7-10 วัน

        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 23 วัน

          ทางราก :

        - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (1-2 กก.)/ไร่  ด้วยการรดโคนต้นจนโชกแฉะเต็มพื้นที่แปลงปลูกหรือปล่อยร่วมกับน้ำไปตามร่อง แถวปลูก ทุก 20-30 วัน
        - ให้น้ำปกติ  ทุก  3-5 วัน

          หมายเหตุ  :

        - การให้ปุ๋ยทางรากสูตร 25-7-7 จะช่วยให้ได้ใบขนาดใหญ่หนาเขียวเข้ม  เป็นใบที่มีคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ

        - เนื่องจากใบกล้วยมีนวลใบมาก การฉีดพ่นทางใบควรผสมสารจับใบด้วย ฉีดพ่นแล้วให้สังเกตว่าน้ำที่ฉีดพ่นไปนั้นเปียกทั่วใบจริงหรือไม่  การใช้สารจับใบครั้งแรกอาจจะต้องใช้มากกว่าปกติเพื่อละลายนวลใบออกไปหลังจาก นั้นจึงใช้ในอัตราปกติได้

       - หลังจากตัดตอทุกครั้งควรให้ธาตุอาหารทั้งทางใบและทางรากเพื่อรักษาความชื้นแฉะอยู่เสมอ

       - ให้ฮอร์โมนบำรุงราก. ปุ๋ยน้ำชีวภาพระบิดเถิดเทิง. ไคตินไคโตซาน. 1-2 เดือน/ ครั้ง
จะช่วยบำรุงเหง้าทั้งต้นแม่และหน่อมีขนาดใหญ่เร็วขึ้น

       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน


     2. ระยะก่อนแทงปลี

         ทางใบ :

      - ให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ติดต่อกัน 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน  ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น  ติดต่อกัน 1-2  เดือน

      - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน

        ทางราก :

      - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง +  8-24-24 (1-2 กก.)  สำหรับพื้นที่ 1 ไร่/เดือน

      - ให้น้ำปกติ  ทุก 5-7 วัน

         หมายเหตุ :

      - เริ่มบำรุงเมื่ออายุต้น 170-180 วัน หลังแตกยอดที่เกิดจากตัดตอครั้งสุดท้าย  กรณีที่ให้ 25-7-7 ทางรากจะทำให้ต้นสูงใหญ่มาก อาจจะทำให้การเข้าไปปฏิบัติงานไม่สะดวก แก้ไขโดยเมื่อเห็นว่าต้นมีความสูงพอสมควรแล้ว แม้ว่าอายุต้นจะยังไม่ได้ตามกำหนดก็ตาม แนะนำให้ทางใบด้วย   “0-42-56 + ฮอร์โมนไข่ + กลูโคสหรือนมสัตว์สด”   คู่กับให้ทางรากด้วย  8-24-24 ได้เลย  วิธีนี้นอกจากจะช่วยลดความสูงของต้นไม่ให้สูงต่อได้แล้ว  ยังเป็นการสะสมอาหารก่อนออกปลีได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

       - การแทงปลีของต้นกล้วยก็คือการออกดอกของไม้ผลทั่วๆไป ดังนั้นเพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออกดอกหรืออั้นตาดอกได้สมบูรณ์ ดียิ่งขึ้นควรเสริมด้วยธาตุอาหารกลุ่มสะสมตาดอกอื่นๆ  เช่น  นมสัตว์สดหรือกลูโคส  1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 20-30 วัน  ทั้งนี้  กล้วยไม่จำเป็นต้องเปิดตาดอกเหมือนผลไม้ทั่วไป เมื่อต้นได้รับธาตุอาหารกลุ่มสะสมตาดอกเต็มที่ก็จะแทงดอก (ปลี) ออกมาเอง

       - ระยะต้นเล็กถึงก่อนแทงปลีให้ตัดแต่งใบเหลือ 12-13 ใบ

       - อายุต้น 90-120 วันหลังปลูกแตกใบอ่อนชุดแรกจะเริ่มมีหน่อแทงขึ้นมา  เมื่อหน่อโตสูงได้ 90 ซม.-1 ม.ให้ตัดตอหน่อเหลือตอสูงจากพื้น 15-20 ซม.   หลังจากตัดตอหน่อแล้วจะแตกใบอ่อนออกมาอีกก็ให้ตัดตออีกเมื่อตอสูง 90 ซม.-1 ม.เช่นกัน  และให้ตัดทุกครั้งจนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิต  การตัดตอแต่ละครั้งให้แผลครั้งหลังสูงกว่าแผลครั้งแรก 1-2 ฝ่ามือ  มีดที่ใช้ตัดต้องคมจัดเพื่อให้แผลช้ำน้อยที่สุดก็จะแตกใบอ่อนชุดใหม่ได้เร็ว

       - การตัดหน่อด้วยมีดหรือเคียวคมๆทำให้แผลไม่ช้ำ  จากนั้นประมาณ 10-15 วัน จะมีหน่อใหม่แทงขึ้นมา   ถ้าไม่ใช้มีดหรือเคียวคมๆตัดหน่อแล้วใช้วิธีเหยียบหน่อให้ล้มลง  โคนหน่อช้ำ แบบนี้จะทำให้หน่อแทงใบใหม่ช้า ซึ่งอาจต้องใช้เวลา 1-2 เดือน  ทำให้ประหยัดเวลา

        
         4. ระยะเริ่มแทงปลี

            ทางใบ :

         - ให้น้ำ 100 ล. + 15-45-15 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + เอ็น
เอเอ. 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่  50 ซีซี. + สารจับใบ 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นดินโคนต้น  ทุก 7-10 วัน

         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน

            ทางราก :

         - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง +  8-24-24 (1-2 กก.)/1 ไร่  ทุก 20-30 วัน

         - ให้น้ำปกติ  ทุก 5-7 วัน

           หมายเหตุ

         - ก่อนแทงปลีจะมี  “ใบธง”  ลักษณะม้วนกลมชี้ตรงขึ้นฟ้าแทงออกมาก่อน  หลังจากปลีออกมาเป็นงวงชี้ลงล่างแล้วใบธงก็จะกลายเป็นใบปกติ

         - การที่ในเครือกล้วยมีจำนวนหวีน้อยหรือหวีสุดท้ายปลายเครือเป็น “ตีนเต่า” เร็วเกินไป  เนื่องมาจากต้นได้รับธาตุอาหารไม่สมดุล และบำรุงตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมหน่อและระยะต่างๆก่อนแทงปลีไม่ดีพอ

       - เริ่มให้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. เมื่อปลายปลีแทงพ้นโคนก้านใบธงขึ้นมาประมาณ 1 ฝ่ามือ 2-3 รอบห่างกันรอบละ 7-10 วัน จนกระทั่งตัดปลีจะช่วยให้เกสรสมบูรณ์  ผสมติดเป็นผลได้มากขึ้น  ส่งผลให้ในเครือมีจำนวนหวีมาก  และแต่ละหวีก็จะมีจำนวนผลมากขึ้นด้วย

       - ดอกกล้วย (ปลี) เป็นดอกสมบูรณ์เพศ  เกสรกล้วยพร้อมผสมกันเองหรือรับการผสมจากต้นอื่นได้ทั้งช่วงกลางวันและกลาง คืน ช่วงกลางวันจะมีแมลงช่วยผสม ส่วนช่วงกลางคืนจะมีค้างคาวช่วยผสม หลังจากกลีบดอก (กาบหัวปลี) เปิดแย้มเต็มที่แล้ว ถ้าช่วยผสมด้วยมือโดยใช้พู่กันขนอ่อนยาวคุ้ยเขี่ยบริเวณเกสรให้มีโอกาสได้ ผสมกัน  นอกจากจะช่วยให้ได้ผลผลิตมากขึ้นแล้วคุณภาพผลก็ดีขึ้นอีกด้วย

         
    5. ระยะผลเล็ก
        ทางใบ  :

      - ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ฮอร์
โมนไข่ 50 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. + สารจับใบ 100 ซีซี. ฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้น ทุก 7-10 วัน

      - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน

         ทางราก

       - ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน

      - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (1-2 กก.)/1 ไร่    ทุก 20-30 วัน

      - ให้น้ำปกติ  ทุก 5-7 วัน

        หมายเหตุ :

        เริ่มบำรุงหลังจากตัดปลี

         
      6. ระยะขนาดกลาง

        ทางใบ  :

      - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารจับ
ใบ 100 ซีซี. + ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ทุก 7-10 วัน   ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นดินโคนต้น

        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน

           ทางราก :

       - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (1-2 กก.)/1 ไร่  ทุก 20-30 วัน

       - ให้น้ำปกติ  ทุก 5-7 วัน

         หมายเหตุ  :

       - หลังจากตัดปลีแล้ว 20-30 วันให้ห่อผลด้วยถุงขนาดใหญ่  เปิดก้นระบายอากาศห่อทั้งเครือ  หรือใช้ใบกล้วย 3-4 ใบผูกโคนก้านกล้วยกับก้านเครือ  ปล่อยใบยาวตามเครือ  จัดระเบียบใบกล้วยให้คลุมผลกล้วยทั้งเครือ มัดรวบช่วงปลายใบกล้วยที่ใช้ห่อกับมัดช่วงกลางพอหลวมอีก 1-2 เปราะ..........ก่อนลงมือห่อผลควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรกำจัดชื้อราและแมลง ให้เปียกโชก  นอกจากช่วยกำจัดเชื้อราแล้วยังกำจัดไข่ของแม่ผีเสื้อไม่ให้ฟักออกเป็นตัว หนอน  ป้องกันแมลงวันทองและยังทำให้ผิวสวย  คุณภาพเนื้อในดีอีกด้วย

       - ระยะบำรุงผล (หลังตัดปลี) ถึง ผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว  ตัดแต่งใบให้เหลือไว้ประมาณ  9-10 ใบ

       -  เมื่อเห็นว่าเครือเริ่มใหญ่และน้ำหนักมากขึ้นให้ค้ำต้น

       - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้แม็กเนเซียม 1-2 รอบ  โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก

        - ให้กำมะถัน 1-2 รอบตลอดช่วงผลกลางจะช่วยบำรุงให้กลิ่นและสีดี

          
        7. ระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว

             ทางใบ :

           - ให้น้ำ 100 ล. +  0-21-74 (400 กรัม) หรือ 0-0-50 (400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   หรือ น้ำ 100 ล. + มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.    1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว  ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น

        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน

            ทางราก

          - ให้  13-13-21 หรือ  8-24-24 (1-2 กก.)/ไร่

         - ให้น้ำกับปุ๋ยแล้วงดน้ำจนถึงวันเก็บเกี่ยว

           หมายเหตุ  :

         - ให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน

         - เมื่อผลกล้วยส่วนโคนเครือแก่ได้ประมาณ 3 ใน 4 ของจำนวนหวีทั้งเครือ  ใบจะเริ่มเหี่ยวเหลืองเนื่อจากไกล้หมดอายุต้น  ใบที่เหี่ยวเหลืองแล้วนี้จะไม่สังเคราะห์สารอาหาร  เป็นเหตุให้จำนวนหวีส่วนปลายเครือ 3 ใน 4 ไม่ได้รับสารอาหาร หรือได้รับน้อยกว่าปกติ  จังหวะนี้หากมีการให้  “ฮอร์โมนน้ำดำ”  หรือ  “แมกเนเซียม”  1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 7-10 วัน  ก็จะช่วยบำรุงให้ใบยังคงเขียวสด  สังเคราะห์สารอาหารต่อไปได้  จนกระทั่งผลของหวีสุดท้ายปลายสุดของเครือแก่จัด 

view