สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร

บทบาทของจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร

    1. ย่อยสลาย (กิน) อินทรียวัตถุและอนินทรีย์วัตถุแล้วถ่ายมูลออกมาเรียกว่า "กรดอินทรีย์" ส่วนที่เป็นธาตุอาหารพืชซึ่งอยู่ใน "รูป" ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ได้แก่ โพลิตินอล. ควินนอยด์. อโรเมติค. ซิลิลิค. ออแกนิค. ส่วนที่เป็นฮอร์โมนพืช ได้แก่ ออกซิน (ไซโตคินนิน. จิ๊บเบอเรลลิน. เอทธิลิน.  อีเทฟอน. อีเทรล. แอบซิสสิค. เอบีเอ. ไอเอเอ. เอ็นเอเอ.ฯลฯ)และส่วนที่เป็นท็อกซิน.ซึ่งมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อโรคพืช ได้
    2. ปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน ทำให้ดินเป็นกลาง
    3. จับยึดธาตุอาหารพืชจากอากาศไปไว้ในตัวเองแล้วปลดปล่อยให้แก่ต้นพืช
    4. ปลดปล่อยปุ๋ยเคมีที่ถูกดิน (กรดจัด) ตรึงไว้ให้ออกมาเป็นประโยชน์แก่ต้นพืช
    5. ตรึงปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ลงไปไว้แล้วปลดปล่อยให้ออกมาช้าๆ เพื่อให้พืชได้มีเวลาดูดซับไปใช้งานได้ทันทีและสม่ำเสมอ
    6. สลายฤทธิ์สารที่เป็นพิษต่อพืชให้เจือจางลงๆ จนกระทั่งหมดไปในที่สุด
    7. กำจัดจุลินทรีย์ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเป็นโทษ (เชื้อโรค) ต่อต้นพืช
    8. เกิดได้เองตามธรรมชาติภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

       ประโยชน์ของฮิวมัส
    1. ป้องกันการชะล้างหน้าดิน
    2. ป้องกันเม็ดดินอัดตัวกันแน่นจนเป็นดินเหนียวจัด
    3. รักษาความชุ่มชื้นของเม็ดดิน (ปุ๋ยอินทรีย์ 10 กก.เก็บน้ำได้ 19.66 ล.)
    4. ลดและสลายสารพิษในดิน
    5. กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
    6. เสริมประสิทธิภาพของธาตุอาหารพืชที่ได้จากการสังเคราะห์แสง 

       เกร็ดความรู้เรื่อง "จุลินทรีย์" เพื่อการเกษตร

    1. จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตแต่ไม่ใช่สัตว์หรือพืช เรียกว่า "สัตว์เซลล์เดียว" อาศัยอยู่ในแหล่งที่มีความชื้นตั้งแต่ระดับความชื้น 1-100 เปอร์เซ็นต์ องค์การนาซาได้รายงานว่าพบจุลินทรีย์ในก้อนเมฆ และรายการ ทีวี.ดิสคัฟเวอรี่ แชลแนล ได้ให้ข้อมูลว่า ดิน 1 ลบ.ซม.มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ถึง 78 ล้านตัว

    2. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร หมายถึง จุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืชและสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรกรรมโดยเฉพาะ

    3. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรเกี่ยวกับพืชโดยมีหน้าที่อนุรักษ์ดิน น้ำ สภาพแวดล้อม ผลิตและจัดการธาตุอาหาร กำจัดจุลินทรีย์เชื้อโรคและอื่นๆ ที่เป็นการส่งเสริมให้พืชเจริญเติบโตดี และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ดีภายใต้ความชื้น 25-50 เปอร์เซ็นต์

    4. จุลินทรีย์ขยายพันธุ์โดยการแบ่งตัวเองแบบทวีคูณ เช่น 1 ตัวเมื่อโตเต็มที่จะแบ่งตัวเองออกเป็น 2 ตัว และ 2 ตัวเมื่อโตเต็มที่ก็จะแบ่งตัวเองออกเป็น 4 ตัว หรือจุลินทรีย์ 1 แสนตัวเมื่อโตเต็มที่ต่างก็แบ่งตัวเองกลายเป็น 2 แสนตัวเป็นต้น

    5. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ แบคทีเรีย. ไวรัส. ยีสต์. และรา. ซึ่งกลุ่มใหญ่ๆ เหล่านี้แยกออกเป็นประเภทต่างๆ อีกหลายประเภท เช่น
       - ประเภทที่มีประโยชน์ (ฝ่ายธรรมะ) มีประสิทธิภาพในการสร้างและส่งเสริมปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร (ดิน-น้ำ-อุณหภูมิ-สายพันธุ์-โรค) ให้พืชเจริญเติบโต
       - ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเชื้อโรค (ฝ่ายอธรรม) มีประสิทธิภาพในการทำลายปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร ทำให้พืชไม่เจริญเติบโตหรือตาย
       - ประเภทไม่ต้องการอากาศ ชอบและอยู่ในดินลึกที่อากาศลงไปถึงได้น้อยหรือไม่มีอากาศเลย แต่ยังเป็นจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืช  มีพลังในการย่อยสลายเหนือกว่าจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ
       - ประเภทต้องการอากาศ ชอบและอยู่บริเวณผิวหน้าดินที่อากาศผ่านหรือถ่ายเทสะดวก
       - ประเภทต้องการความชื้นน้อย เจริญเติบโต ขยายพันธุ์ได้ดีภายใต้สภาพความชื้นน้อยๆ หรือแห้งแล้ง
       - ประเภทต้องการความชื้นมาก เจริญเติบโตได้ภายใต้สภาพความชื้นที่เหมาะสม เช่น ชื้นพอดี ชื้นแฉะ น้ำขังค้าง
       - ประเภทเกิดได้เร็ว เกิดและขยายพันธุ์ได้ในถังหมักหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมภายใน 3-10 วัน
       - ประเภทเกิดได้ช้า เกิดและขยายพันธุ์ได้ในถังหมักหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต้องใช้ระยะเวลานาน นับเดือนหรือหลายๆ เดือนทั้งจุลินทรีย์ประเภทเกิดได้เร็วและเกิดได้ช้า ถ้าเป็นจุลินทรีย์ฝ่ายธรรมะย่อมมีประโยชน์ต่อพืชเหมือนๆ กันดังนั้นการใช้จุลินทรีย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงควรใช้ทั้งจุลินทรีย์ ประเภทหมักใหม่และหมักนานแล้วร่วมกัน

      6. จุลินทรีย์ในปุ๋ยอินทรีย์แห้งที่ได้จากการหมักอินทรียวัตถุ (ซากพืชและสัตว์) จะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ขยายพันธุ์ และมีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วงที่อินทรียวัตถุเริ่มสลายตัวและอุณหภูมิในกอง เริ่มเย็นลง

      7. จุลินทรีย์ในปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ได้จากการหมักอินทรียวัตถุ (ซากพืชและสัตว์) จะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ขยายพันธุ์ และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อกระบวนการหมักหมดฟองใหม่ๆ

      8. การใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่เกี่ยวกับพืชให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรใช้ "ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง" หรือ "ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ" ที่หมักนานข้ามปีแล้วกับที่หมักใช้การได้ใหม่ๆ ผสมกัน 1:1 จะได้ทั้งจุลินทรีย์ประเภทเกิดเร็วและประเภทเกิดช้า

      9. อาหารที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ คือ "รำละเอียด" และ "สารรสหวาน" เช่น กากน้ำตาล น้ำตาลในครัว น้ำหวานในเครื่องดื่มต่างๆในอัตราที่เหมาะสม  ปริมาณของสารรสหวานมีผลต่อการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ทั้งสองชนิด  กล่าวคือ                
         - สารรสหวานปริมาณมากเกินจะยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ทั้งจุลินทรีย์ดีและจุลินทรีย์โทษ
         -สารรสหวานปริมาณที่น้อยเกินไปจะยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ดีและส่งเสริมการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์โทษ            
         - สารรสหวานปริมาณที่พอดีจะส่งเสริมการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ดี  และยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์โทษ 

     10. จุลินทรีย์ในถังหมักจะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง และขยายพันธุ์ได้ดีมากภายใต้อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส มีอากาศหมุนเวียน มีสารอาหาร และค่ากรด-ด่างที่เหมาะสมสำหรับชนิดของจุลินทรีย์

     11. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่ดีที่สุด คือ "จุลินทรีย์ธรรมชาติ" หรือ "จุลินทรีย์ประจำถิ่น" ซึ่งมีอยู่ในแปลงเกษตรนั้นๆ เป็นจุลินทรีย์ที่อยู่มานานแล้วและจะคงอยู่ที่นั่นต่อไปตราบเท่าที่สภาพแวด ล้อมต่างๆ เหมาะสม

     12. การบำรุงจุลินทรีย์ประจำถิ่นสามารถทำได้โดยการโรยรำละเอียดบางๆ รดด้วยน้ำเจือจางสารรสหวานพอหน้าดินชื้น ใส่หรือคลุมทับด้วยอินทรียวัตถุ แสงแดดส่องถึงได้เล็กน้อย อากาศถ่ายเทสะดวก มีระดับความชื้นพอดี เมื่อจุลินทรีย์ได้รับสารอาหารและสภาพแวดล้อมเหมาะสมก็จะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ขยายพันธุ์และทำหน้าที่ได้ดีเอง

     13. จุลินทรีย์ประเภทที่มีประโยชน์ (ฝ่ายธรรมะ) สามารถดำรงชีวิต (เกิด กิน ขับถ่าย ขยายพันธุ์ และตาย) ได้ดีภายใต้สภาพโครงสร้างดินเป็นกลางหรือเป็นกรดอ่อนๆ......ถ้าเป็นกรดจัด หรือด่างจัดจะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้

     14. จุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (ฝ่ายอธรรม) หรือเชื้อโรค สามารถดำรงชีวิต (เกิด กิน ขับถ่าย ขยายพันธุ์ และตาย) ได้ดีภายใต้สภาพโครงสร้างดินที่เป็นกรดจัดหรือด่างจัด.......ถ้าดินเป็นกรด อ่อนๆ หรือเป็นกลางจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (เชื้อโรคพืช) นี้จะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้หรือตายไปเอง

     15. เนื่องจากพืชกินธาตุอาหารที่เป็นของเหลวด้วยการดูดซึม ไม่สามารถกินอาหารที่เป็นชิ้น แม้ว่าอาหารชิ้นนั้นจะมีขนาดเท่าปลายเข็มก็กินไม่ได้ แต่หากอาหารชิ้นเท่าปลายเข็มนั้นเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวแล้วนั่นแหละพืชจึง จะดูดซึมไปใช้ได้.........จุลินทรีย์ คือ ตัวทำหน้าที่ย่อยสลายอาหารพืชที่สภาพยังเป็นชิ้นๆ (อินทรียวัตถุ) ให้กลายเป็นของเหลวจนพืชสามารถดูดซึมผ่านปลายรากไปใช้ได้ จุลินทรีย์จึงเปรียบเสมือน "แม่ครัว" หรือผู้สร้างอาหารของต้นพืชนั่นเอง

     16. การดูด้วยสายตาให้รู้ว่าบริเวณใดมีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืช หรือมีจุลินทรีย์ประเภทมีโทษต่อพืช ดูได้จากการเจริญเติบโตของพืชที่ขึ้นในบริเวณนั้น ถ้าระบบรากสมบูรณ์ อวบอ้วน มีจำนวนมาก แสดงว่าดินดี หรือสังเกตการณ์ตอบสนองของพืชต่อปุ๋ยทางราก ทั้งๆ ที่ใส่ปุ๋ยเพียงน้อยนิดแต่ต้นพืชยังเจริญเติบโตได้ดี ก็แสดงว่าดินดีอีกเช่นกัน และการที่ดินดีได้ก็เพราะมีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ (ธรรมะ) ทำหน้าที่อนุรักษ์ให้ในทางตรงกันข้าม ถ้าระบบรากไม่ดีหรือต้นพืชไม่เจริญงอกงามทั้งๆ ที่ใส่ปุ๋ยลงไปแล้วก็แสดงว่าดินไม่ดี และดินไม่ดีก็คือดินที่เป็นแหล่งอาศัยของจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (เชื้อโรค/อธรรม) นั่นเอง   

     17. แหล่งจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ ได้แก่
         - บาซิลลัส ซับติลิส.   มีอยู่ในตาติดเปลือกสับปะรดสด
         - ฟังก์จัย.   จินเจียงลินซิส.   มีอยู่ในฟางเพาะเห็ด
         - คีโตเมียม.  ไรโซเบียม.  ไมโครไรซา.  มีอยู่ในเปลือกถั่วลิสง
         - แอ็คติโนมัยซิส.  มีอยู่ในเหง้า/รากกล้วย  มูลสัตว์กินหญ้า
         - แล็คโตบาซิลลัส. มีอยู่ในยาคูลท์ โยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว
         - แฟลงเกีย. มีอยู่ในสนทะเล สนประดิพัทธ์
         - แอ็คติโนมัยเกรต.  ซีอะโนแบคทีเรีย.   อัลเกีย.   ฟังก์จัยลิเซ่.    เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นได้เองจากดินที่มีสภาพโครงสร้างเป็นกลาง ดีอย่างต่อเนื่อง และมีอินทรียวัตถุสะสมมานาน
         - ไบโอโพลิเมอร์.   คลาไมโดโมแนส.   มีอยู่ในสาหร่ายน้ำจืด
         - นอสท็อก. มีอยู่ในรากต้นปรง
         - อะโซโตแบ็คเตอร์.   มีอยู่ในเหง้าหญ้าขน และหญ้าประเภทหน้าแล้งตายหน้าฝนฟื้น 

     18. ทดสอบจุลินทรีย์โดยการใส่จุลินทรีย์น้ำลงไปในขวด ใช้ลูกโป่งไม่มีลมสวมปากขวดรัดให้แน่น ทิ้งไว้ 2-5 วัน ถ้าลูกโป่งค่อยๆ พองโตขึ้นแสดงว่ามีจุลินทรีย์จำนวนมากสมบูรณ์ แข็งแรงดี แต่ถ้าลูกโป่งพองโตช้าหรือไม่พองโตก็แสดงว่ามีจุลินทรีย์น้อยและไม่สมบูรณ์ แข็งแรง 

     19. ช่วงแรกๆ ลูกโป่งจะพองโตขึ้น แสดงว่ามีจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศเกิดขึ้น แต่ครั้นนานๆ ไปลูกโป่งจะยุบแล้วถูกดูดเข้าไปในขวดทดสอบก็แสดงว่าจุลินทรีย์ประเภทต้องการ อากาศตายหมดแล้ว แต่มีจุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นมาแทน กรณีนี้ไม่เป็นปัญหาเพราะจุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศก็เป็นจุลินทรีย์ เพื่อการเกษตรที่มีประโยชน์ต่อพืชเช่นกัน 

     20. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรมีหลายชนิดหรือหลายประเภท แต่ละชนิดหรือแต่ละประเภทที่ผ่านกรรมวิธีในการหมักหรือขยายเชื้อดี แล้วสามารถนำมาใช้รวมกันหรือใส่ลงไปดินพร้อมๆ กันแล้วให้อยู่ร่วมกันได้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์มากกว่าการใช้จุลินทรีย์เพียงอย่างเดียวหรือตัวเดียว

     21. จุลินทรีย์ไม่ใช่ธาตุอาหารหรือฮอร์โมนพืช แต่เป็นผู้สร้างหรือผลิตอาหารหรือฮอร์โมนให้แก่พืช  ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าจุลินทรีย์ คือ "ผู้อารักขาพืช" ก็ได้   เพราะนอกจากผลิตอาหารหรือฮอร์โมนให้แก่แล้วยังปรับปรุงดูแลสภาพแวดล้อม ที่อยู่ที่กินของพืชอีกด้วย          

     22. จุลินทรีย์กลุ่มหนึ่งจะมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เปลี่ยนสภาพเป็นธาตุ
อาหารพืชตัวหนึ่ง  กล่าวคือ  อินทรีย์วัตถุชิ้นหนึ่ง (ชิ้นเดียวกัน) เมื่อถูกจุลินทรีย์กลุ่มใดเข้าย่อยสลายก็จะได้สารอาหารพืชตัวนั้น  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยจุลินทรีย์หลากหลายกลุ่มเข้าย่อยสลายอินทรีย์ วัตถุชิ้นนั้น  จึงจะได้สารอาหารพืชกลากหลายชนิด  เช่น         
        - AZOSPIRILLUM  SPP.เป็นจุลินทรีย์กลุ่มที่ทำให้  N. ในบรรยากาศคงที่เพื่อให้พืชได้รับอย่างสม่ำเสมอ  ช่วยให้สีสันของใบพืชเขียวสด  ส่งเสริมกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชดำเนินไปอย่างราบรื่น  ป้องกันและแก้ปัญหาใบเหลืองในพืช......          
        - PHOSPHATE  SOLUBILIZING  BACTERIA  ช่วยย่อยสลาย P.  (ในอินทรีย์วัตถุ) ที่ยังอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ไม่ได้ให้เปลี่ยนรูปมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำ ไปใช้ได้               
        - LACTOBACILLUS  มีประสิทธิภาพในการสร้างสารละลาย K. ให้มาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้  ช่วยเพิ่มระดับ K.  ให้เพียงพอต่อความต้องการของพืชเพื่อใช้ในการพัฒนาผลผลิต  ช่วยในการสร้างรูปร่างลักษณะและแบบของดอก-ผล  และน้ำหนัก               
        - LAIN-LAIN  BACTERIA & OTHER BACTERIA มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสารพิษในแอมโมเนีย  ให้เป็น แอมโมเนีย ไนเตรท.  เพื่อเสริมประสิทธิระบบการดูดซึมสารอาหารในลำต้นพืช
        - YEAST  GROUP  SERIES มีประสิทธิภาพในการสร้างฮอร์โมนที่จำเป็น  ช่วยย่อยสลายสารอนินทรีย์ให้มาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ดี  ช่วยเพิ่มสมรรถภาพและความแข็งแรงในการกำจัดเชื้อโรค
        - ACTINOMYCES  SERIES มีประสิทธิภาพในการสร้างสารกำจัดเชื้อโรค  ช่วยเพิ่มความ ต้านทานต่อสภาวะความรุนแรงอันเกิดจากเชื้อโรค              
        - GROWTH  FACTOR  PRODUCING  BACTERIA  SERIES มีประสิทธิภาพใน การสร้างฮอร์โมน  เพื่อเสริมสร้างความเจริญทางด้าน  ต้น.  กิ่ง.  ใบ                

    23. น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง (เน้น..... เลือกวัสดุส่วนผสมเฉพาะตัว และกรรมวิธีในการหมัก) หมักข้ามปี  หลังจากกากส่วนผสมทั้งหมดจมลงนอนก้นถังแล้วไม่มีการคนให้อากาศตลอดระยะเวลา ข้ามปี  จะมีจุลินทรีย์กลุ่มบาซิลลัส.ที่ไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นจำนวนมาก  จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะผลิตสาร  "ท็อกซิก"  ซึ่งเป็นสารพิษต่อศัตรูพืช (โรค-แมลง-หนอน) เมื่อใช้ให้ทางใบประจำจะช่วยป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้.......ในถังหมักน้ำ หมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง  ไม่มีแมลงวันตอม  เป็นสิ่งบอกเหตุว่าในน้ำหมักนั้นมีสารท็อกซิก.
            
    24. จุลินทรีย์ดีมีประโยชน์กินกากน้ำตาลหรือสารรสหวานเป็นอาหาร  ในขณะที่จุลินทรีย์โทษ (เชื้อโรค) ไม่กินสารรสหวาน  การมีสารรสหวานในอัตราส่วนที่เหมาะสมจะช่วยให้จุลินทรีย์ดีมีประโยชน์เจริญ พัฒนาแล้วกำจัดจุลินทรีย์โทษได้เองตามธรรมชาติวิสัยของ จุลินทรีย์              

    25. ในถังหมักที่เป็นของเหลวและมีจุลินทรีย์เป็นองค์ประกอบหนึ่งทุกชนิด  ย่อมมีจุลินทรีย์หลากหลายชนิด  ทั้งที่เจาะจงใส่ลงไปและที่เกิดเองตามธรรมชาติ  เมื่อจุลินทรีย์เหล่านี้ตายจะเกิดเป็นฝ้าบนผิวหน้าของๆเหลวที่หมักนั้น  ถ้าเป็นจุลินทรีย์ดีมีประโยชน์ ฝ้านั้นจะไม่มีกลิ่น  ครั้นเมื่อคนให้ฝ้าจมลงจะกลายเป็นอาหารอย่างดีของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตอยู่ .........แต่ถ้าเป็นจุลินทรีย์โทษ (เชื้อโรค) จะมีกลิ่นเหม็น แสดงว่าอัตราส่วนวัสดุที่ใช้หมักกับกากน้ำตาลไม่สมดุลกัน  จึงเกิดจุลินทรีย์โทษได้  แก้ไขโดยเติมเพิ่มกากน้ำตาล  คนเคล้าให้เข้ากันดีทั่วถัง จากนั้นจะลินทรีย์ดีจะกินกากน้ำตาลแล้วเจริญพัฒนาขึ้นและกินฝ้าจุลินทรีย์ โทษจนจุลินทรีย์โทษจะค่อยๆตายแล้วหมดไปในที่สุดไป              
     26. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่ขยายเชื้อใน  "น้ำ + สารรสหวาน + อากาศ"  หลังจากผ่านขั้นตอนการขยายเชื้อเรียบร้อยแล้ว  จะต้องนำขึ้นจาก  "น้ำขายเชื้อ"  ออกใช้งานทันที  หรือนำไปฝากหรือส่งไปอยู่ในที่ชื้น เช่น  ปุ๋ยอินทรีย์.  ปุ๋ยคอก  หรือลงดินไปเลย......การเก็บนานจุลินทรีย์ที่ผ่านการขยายเชื้อแล้วไว้ในน้ำ สารรสหวาน จะทำให้จุลินทรีย์ชุดแรกที่ได้ตายแล้วเกิดจุลินทรีย์ชุดใหม่ขึ้นมาแทน  เป็นเหตุให้ไม่ได้จุลินทรีย์ประเภทที่ต้องการ                
         การใช้จุลินทรีย์ชนิดน้ำจากท่องตลาดซึ่งมีสารรสหวาน (น้ำ) เป็นแหล่งอาศัย  จึงเท่ากับได้เพียง  "สารอาหาร"  จุลินทรีย์เท่านั้น  โดยไม่มีตัวจุลินทรีย์แต่อย่างใด  เมื่อไม่มีตัวจุลินทรีย์หรือมีแต่น้ำสารอาหารจุลินทรีย์เปล่าๆ แล้ว  "ใช้ได้ผล"  นั้น  เป็นผลโดยตรงของ  "จุลินทรีย์ประจำถิ่น"  ซึ่งอดีตที่ผ่านมาไม่เคยได้รับสารอาหารใดๆเลย  ครั้นเมื่อได้รับสารอาหารก็ย่อมเจริญพัฒนาเป็นธรรมดา                  
         การเก็บจุลินทรีย์เพื่อใช้งานนานๆ  ต้องเก็บใน  "ความชื้น-อากาศ-อุณหภูมิ.ควบคุม"   เช่น  เก็บในผงคาร์บอนเบา.  แป้งข้าวฟ่าง.  มูลม้า.  รำพวนข้าว. เป็นต้น          

     27. เทคนิคการใช้จุลินทรีย์ท้องตลาดให้ได้ผลสูงสุด  ทำดังนี้   เตรียม  "น้ำ (พีเอช 6.0) 10 ล. + น้ำมะพร้าว 1 ล. + กากน้ำตาล 1 ล."  คนเคล้าให้เข้ากันดีแล้วเติม  "จุลินทรีย์ (ผง) 100 กรัม"  คนเคล้าให้เข้ากันดีอีกครั้ง......เติมอากาศ (ปั๊มออกซิเจน) ตลอดเวลานาน 48 ชม.  ครบกำหนดแล้วให้นำออกใช้ทันที           

     28. ในกากน้ำตาลมีสารพิษต่อ 18 ชนิด  ก่อนใช้งานขยายเชื้อจุลินทรีย์ควรนำขึ้นความร้อน 70 องศาเซลเซียส นาน 30 นาทีก่อน  ความร้อนจะช่วยสลายฤทธิ์ความเป็นพิษในกากน้ำตาลได้           

     29. สารรสหวานตามธรรมชาติ  ได้แก่  น้ำผึ้ง.  น้ำอ้อย.  น้ำตาลจากมะพร้าว-ตาล.  น้ำต้มฝักก้ามปูสุก.  เป็นสารรสหวานที่ปราศจากสารเคมีอย่างแท้จริง          

     30. การใส่  "อินทรีย์วัตถุ"  ลงไปในดิน พีเอช 6.0  แล้วราดรดด้วย   "สารรสหวาน"  เดี่ยวๆ  คือการให้อาหารแก่จุลินทรีย์ ที่มีอยู่เดิมในอินทรียวัตถุและในดิน  เทคนิคนี้  นอกจากจะได้ประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล เหนือกว่าการใส่จุลินทรีย์จากแหล่งอื่นแล้วยังประหยัดและไม่ต้องเสี่ยงกับ จุลินทรีย์โทษที่อาจแฝงปนเปื้อนมาด้วย 

view