ไนโตรเจน
ในพืช :
- ส่วนสีเขียวเข้มแก่จัดของพืชทุกชนิด. ต้นถั่วทุกชนิด. พืชตระกูลถั่ว (ก้ามปู. พุทรา. มะขามเทศ. มัยราบ. ทองหลาง. กระถินทุกชนิด. โสนทุกชนิด). สาหร่ายน้ำจืดทุกชนิด.
ในสัตว์ :
- เมือก-คาว-เลือด-เนื้อ สดๆ จากปลายังมีชีวิต.
ในน้ำ :
- น้ำฝน. น้ำค้าง. น้ำในแหล่งธรรมชาติ.
ฟอสฟอรัส
ในพืช :
- รากสดแก่จัด. เมล็ดในสดแก่จัด. ใบแก่ชะอม-ขจร-ถั่วพู-กระถิน-มะระ-บัวบก-ผักบุ้งจีน-สะระแหน่-หน่อไม้ฝรั่ง. งาดำ. ถั่วดำ. ถั่วลิสง. ถั่วเหลือง. เมล็ดบัว. ลูกเดือย. ดอกตูมและเกสร. สาหร่ายทะเล
- เนื้อผลไม้รสหวานสนิทแก่จัดสุกงอมจนออกกลิ่นฉุน เช่น กล้วย. เงาะ. มะละกอ. ทุเรียน. ละมุด. ฝรั่ง. น้อยหน่า. แก้วมังกร. มะปรางหวาน. มะยงชิด. ลองกอง. ลางสาด. มะขามหวาน. แตงโม. แคนตาลูป.
ในสัตว์ :
- เกร็ด-ก้าง-กระดูกปลาทะเล สด/แห้ง-เก่า/ใหม่
ในอาหารคน :
- มัสตาส. นมผงขาดมันเนย. เนยแข็ง. ลูกชิ้นกุ้ง. กะปิเคย
โปแตสเซียม
ในพืช :
- เปลือกและเนื้อของผลไม้รสหวานสนิทแก่จัดสุกงอมจนออกกลิ่นฉุนเหมือนฟอสฟอรัส
- ผลดิบแก่จัด เช่น ฟักทอง. แตงทุกชนิด. กระเจี๊ยบ. พริกสด. มะเขือพวง.
- ผักสด เช่น บล็อกโคลี่. ผักกาดขาว. ผักกาดหอม. ป๊วยเหล็ง.
- เปลือกแห้ง/สด/ใหม่ของผลไม้รสหวาน เช่น ทุเรียน. กล้วย. มะละกอ (ยกเว้น มังคุดและเงาะ)
ในสัตว์ :
- เนื้อสดสัตว์น้ำจืด/ทะเล. เครื่องในสัตว์บก/ทะเล
แคลเซียม
ในพืช :
- ผักผลสดแก่จัด เช่น ถั่วลันเตา. กระเจี๊ยบ. แตงดิบทุกชนิด. มะขามเทศมัน. กระถิน. มะระ. มะเขือเทศดิบ. บวบเหลี่ยม. งาดำ
- ผักใบสดแก่จัด เช่น คะน้า. โขม. กะเฉด. บล็อกโคลี่. ยอดปอ. ใบแก่ฟักทอง
- ผลดิบสดแก่จัดรสฝาดยังไม่สุก เช่น ฝรั่ง. อะโวคาโด. ผล/เมล็ดแตงแก่สดทุกชนิด. เมล็ดถั่วเขียว. มะขามเทศฝาด. มะขามป้อม. ขุยมะพร้าว.
ในสัตว์ :
- เกร็ด-ก้าง-กระดูกของปลาสดมีชีวิต. เปลือกไข่. เปลือกหอยสด/แห้ง/เก่า/ใหม่. นมสดสัตว์รีดใหม่. กุ้งฝอยสด/แห้ง. หอยจูน. หอยทราย
ในอาหารคน :
- นมพร่องมันเนย. เนยแข็ง. ผงกะหรี่. ไข่สด
ในธรรมชาติ :
- ยิบซั่มธรรมชาติ. ปูนหินเผา. ปูนเปลือกหอมเผา. ปูนมาร์ล. โดโลไมท์.
แม็กเนเซียม
ในพืช :
- เปลือก-ใบ-ตา-ต้นสีเขียวเข้มแก่จัด. เมล็ดในสดแก่จัด. เนื้อ/เปลือกผลไม้สดแก่จัดสุกงอมรสหวานอมเปรี้ยว เช่น สับปะรด. สตรอเบอรี่. มะเฟือง. ระกำ. สละ. เชอรี่. มะเขือเทศดิบ
ในสัตว์ :
- เกร็ด-ก้าง-กระดูกสัตว์สด/แห้ง-ใหม่/เก่า. ปลาทะเล.
ในธรรมชาติ :
- ปูนมาร์ล. โดโลไมท์.
กำมะถัน
ในพืช :
- พืชสด/แห้งแก่จัดที่มีกลิ่นฉุน เช่น หอมแดง. หอมหัวใหญ่. กระเทียม. ขึ้นฉ่าย. ผักชี. สะตอ. พริกสด/แห้ง
ในสัตว์ :
- เมือก-เลือด-เนื้อสดใหม่จากปลาทะเลมีชีวิต
ในอาหารคน :
- ไข่สด
ในธรรมชาติ :
- ยางติดเปลือกมังคุด. กำมะถันผง
เหล็ก
ในพืช :
- ตาที่กำลังอั้นเต็มที่. ยอดอ่อน. เนื้อ/ใบสดแก่จัดของฟักทอง-ฟักเขียว-เผือก-กะเฉด-ผลพริกสด-ยอดปอ. มะเขือพวง. เมล็ดถั่วแขกแห้ง. เมล็ดบัว. เมล็ดกระถิน. ถั่วลิสง. ลูกเดือย. ยอดขี้เหล็ก. ผักดูด. เห็ดหูหนู. มัสตาด. จมูกข้าว.
ในสัตว์ :
- เมือก-เลือด-เครื่องในสดจากปลาทะเลมีชีวิต. เลือดวัว/ควาย/ไก่/แพะ. นมสดสัตว์รีดใหม่.
ในอาหารคน :
- มัสตาด. นมกล่องจืด/เปรี้ยว. ไข่สด.
ทองแดง
ในพืช :
- ส่วนสีเขียวสดแก่จัด. เมล็ดในสดแก่จัด. พืชตระกูลถั่ว.
ในสัตว์ :
- เครื่องในสดจากปลาทะเลมีชีวิต
สังกะสี
ในพืช :
- หัวสดแก่จัดเป็นเสี้ยนจนกินไม่ได้ เช่น ไชเท้า. แครอท. มันเทศ. มันแกว
- เหง้าหรือไหลสดแก่จัด เช่น ผักปอด. พุทธรักษา. กล้วย. เตย. ตำลึง.
- เมล็ดสดแก่จัด เช่น ฟักทอง. บวบ. แตง. ถั่วเขียว.
ในสัตว์ :
- หอยทะเล. ปลาทะเล.
แมงกานิส
ในพืช :
- มะเขือเทศสุก. ผลตำลึงสุก. ผลวัชพืชสุก.
ในสัตว์ :
- เครื่องในสดปลาทะเล.
ในพืช :
- เมล็ดอ่อน. ส่วนที่เป็นน้ำหรือเยื่อเจริญของพืช.
โมลิบดินั่ม
ในพืช :
- เยื่อเจริญ
โบรอน
ในพืช :
- ผลอ่อน-ยอดอ่อน-ใบอ่อน-รากอ่อน ลักษณะกรอบ เปราะ เด็ดได้ด้วยมือ เช่น ผล/ยอดแตง-กะเฉด-ตำลึง-ผักบุ้ง-ยอดอ่อนของพืชเลื้อยทุกชนิด-เปลือกสดเขียว ส่วนปลายกิ่งที่กำลังมีผลอ่อน. ทะลายปล์ม.
ในสารสังเคราะห์ :
- น้ำประสานทอง. โบรอนพืช (เกรด 10 โมเลกุลน้ำ).
ซิลิก้า
ในพืช :
- แกลบดิบ. หญ้าคา. หญ้าขน. กากน้ำตาล.
ในธรรมชาติ :
- หินภูเขาไฟ
โซเดียม
ในสัตว์ :
- เครื่องในสดใหม่ปลาทะเลมีชีวิต. มูลควาย.
ในธรรมชาติ :
- เกลือสมุทร. คาร์บอน
.ในสารธรรมชาติ :
- แกลบดำ. ถ่าน. ขี้เถ้า. ควันไฟ.
จิ๊บเบอเรลลิน
ในพืช :
- เมล็ดเริ่มงอก. น้ำมะพร้าวอ่อน. ผลอ่อนของผลไม้ที่มีลักษณะยาว. ยอดอ่อนพืชเด็ดได้ด้วยมือ. เถาบอระเพ็ดสดแก่จัดช่วงความสูง 1 ม.แรกจากพื้น. เปลือกสดปลายกิ่งส่วนที่เป็นสีเขียวขณะมีผลแก่.
ในสัตว์ :
- น้ำล้างเขียงทำปลา.
ไซโตคินนิน
ในพืช :
- หัวไชเท้า. ผักปรัง. ข้าวโพดหวาน. ข้าวระยะน้ำนม. โสมไทย. หน่อไม้ฝรั่ง. หน่อไม้ไผ่ตง. น้ำมะพร้าวแก่. แป้งในพืชหัวระยะกำลังเจริญเติบโต. สาหร่ายทะเล.
ในสัตว์ :
- สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น กุ้ง. เคย. ปู. หนอน. แมลง. กิ้งกือ. ไส้เดือน. กระดองเต่า/ตะพาบ. ปลิงทะเล/น้ำจืด. ลิ้นทะเล. รกสัตว์. ไข่อ่อน. ไข่ขาว. น้ำหอยเผา.
อะมิโน
ในพืช :
- น้ำเต้าหู้พร้อมดื่ม.
ในสัตว์ :
- ปลาทะเล. เยื่อหุ้มเมล็ดเลือด.
ในอาหารคน :
- ซุปไก่สกัด. น้ำก้นหม้อนึ่งปลา. น้ำเนื้อตุ๋น. ผงชูรส.
โอเมก้า
ในสัตว์ :
- เครื่องในสัตว์ทะเลสดมีชีวิต. หนอน. เนื้อปลาทะเลสด.
ในอาหารคน :
- ไข่สด. นมสด.
เอ็นเอเอ.
ในพืช :
- หัวกวาวเครือขาวสดแก่จัด
พาโคลบิวทาโซล
ในพืช :
- เหง้าตำลึงสดแก่จัดเป็นเสี้ยน ใบข่อยสดแก่จัด ผักปรังต้นแก่จัด ผักเสี้ยนต้นแก่จัด. หัวสดแก่จัดจนเนื้อเป็นเสี้ยนกินไม่ได้ เช่น หัวไชเท้า. มันเทศ. มันแกว.
วิตามิน บี.
ในพืช :
- เมล็ดทานตะวัน. น้ำมันพืช.
ในอาหารคน :
- ไข่สด
ในสัตว์ :
- หนังปลาสดใหม่
วิตามิน อี.
ในสัตว์ :
- ไข่แดง. หนังปลา.
ในพืช :
- แตงกวา
โปรตีน.
ในพืช :
- ถั่วเหลือง.
ในสัตว์ :
- เนื้อสัตว์สดใหม่
ในอาหารคน :
- เนื้อสัตว์ทุกชนิด (ในปลามากที่สุด). นม. ไข่. น้ำเต้าหู้. น้ำต้มตุ๋น.
เอสโตรเจน.
ในพืช :
น้ำมะพร้าวแก่.
ในสัตว์ :
- น้ำเชื้อ.
ในอาหารคน :
- ยาเม็ดคุมกำเนิดแถวบำรุง. ไวอากร้า. เอสไพริน.
หมายเหตุ :
- เกษตรกรสหรัฐอเมริการู้จักการทำและใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพมานานกว่า 50 ปีแล้ว โดยปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ใช้ทำจากวัสดุส่วนผสมแบบเลือกสรรพิเศษพบว่ามีธาตุอาหาร พืชกลุ่ม “อะมิโน โปรตีน” เป็นหลัก และวันนี้ เกษตรกรเกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ก็ได้มีการใช้กันอย่างกว้างขวางและจริงจัง
- ผู้ค้นพบปุ๋ยหมักครั้งแรก คือ นักวิชาการเกษตรอินเดียได้เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเมื่อประมาณ 60 ปีที่แล้ว ถึงวันนี้ก็ยังได้รับความนิยมและความเชื่อถือจากเกษตรไทยน้อยมาก
- ปัจจุบันเกษตรกรเยอรมันที่มีเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การเกษตรสูงมาก ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางทำการเกษตรแบบเคมีวิทยาศาสตร์ล้วนๆ มาสู่รูปแบบ “อินทรีย์ชีวภาพนำ-เคมีวิทยาศาสตร์เสริม” อย่างกว้างขวาง โดยมีหลักวิชาการเข้ามาประกอบการใช้ ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตการทำอาชีพเกษตรกรรมดีขึ้น
แนวความคิดในการทำธาตุอาหารพืช
1. รู้......พืชต้องการธาตุอาหารตัวใด ?
2. รู้......ธาตุอาหารที่พืชต้องการนั้นมีอยู่ในวัสดุใด ?
3. รู้......วิธีแปรสภาพวัสดุนั้นให้เป็นธาตุอาหารสำหรับพืชได้อย่างไร ?
4. รู้......วัสดุที่แปรสภาพแล้วนั้นได้ธาตุอาหารพืชตัวใด ?
5. รู้......วิธีให้ธาตุอาหารที่แปรรูปแล้วแก่พืชอย่างไร ?
6. รู้......ธาตุอาหารแต่ละตัวที่แปรสภาพแล้วบำรุงพืชเพื่ออะไร ?
ในธรรมชาติไม่มีตัวเลขหรือสูตรสำเร็จ การปฏิบัติบำรุงต่อพืชด้วยวิธีการเดียวกันแต่ได้ผลต่างกัน เพราะปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวกับพืชแต่ละต้นไม่เหมือนกันนั่นเอง สูตรปุ๋ยน้ำชีวภาพจากสำนักใดถือว่าเป็น “สูตรของสำนัก” นั้น ครั้นเมื่อผู้ที่ได้รับสูตรแล้วมาทำใช้เองด้วยมือตัวเอง ย่อมถือว่าเป็น “สูตรของผู้ทำ” ดังนั้น ก่อนใช้งานจริง ผู้ทำจะต้องทดสอบสูตรที่ตัวเองทำก่อนเสมอ...