สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

น้ำกะทิและน้ำมะพร้าวช่วยรักษาคนศีรษะล้านได้จริงหรือไม่


ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการ หรือการทดลองที่ทำชัดเจนว่าน้ำมันมะพร้าว หรือกะทิสามารถรักษาผมร่วงได้จริงหรือไม่ แต่มีการปฏิบัติกันมาตั้งแต่ในอดีตเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านว่า กะทิสามารถนำมาใช้ในการบำรุงผม บำรุงหนังศีรษะ ทำให้ผมเป็นประกายเงางาม ทำให้ผมแข็งแรง นอกจากนี้ยังช่วยลดผมร่วง และกระตุ้นการเจริญของผมใหม่ได้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากว่าการสระผมทั่วๆ ไป อาจทำให้โปรตีนที่เคลือบอยู่บนเส้นผมตามธรรมชาติหลุดออกไปในระหว่างที่สระผม ซึ่งส่วนประกอบหลักของเส้นผมคือ โปรตีนที่เรียกว่าเคอราติน (Keratins) กะทิ ที่เคลือบเส้นผมสามารถทำให้โปรตีนเกิดการสูญเสีย ออกไปน้อยที่สุด อาจเนื่องจากว่าโปรตีนในน้ำมันมะพร้าวมีความใกล้เคียงกับโปรตีนของเส้นผม และในน้ำมันมะพร้าวมีส่วนประกอบเป็นไขมันสายกลาง (medium chain triglycerides ; MCT ) : ซึ่ง MCT นี้ สามารถผ่านเข้าออกอย่างอิสระที่ผนังเซลล์ และการที่มีน้ำหนักโมเลกุลน้อยนี้ทำให้สามารถผ่านเข้าออกจากเส้นผมได้อย่าง ง่ายดาย จึงมีประสิทธิภาพในการบำรุงเส้นผมได้ดี อีกทั้งสารเคลือบผมตามธรรมชาติที่เรียกว่า ซีบัม (sebum) ซึ่งคอยปกป้องเส้นผมและหนังศีรษะไม่ให้แห้ง แตกง่ายยังมีส่วนผสมเป็น MCT ซึ่งคล้ายกับที่มีในมะพร้าวด้วย กะทิ ยังช่วยในการดูดซึมวิตามินอี ซึ่งช่วยในเรื่องของการไหลเวียนโลหิต นำพาสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณหนังศีรษะและรากผมได้ดีขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้กะทิจะมีน้ำมันดังกล่าวแล้ว ยังประกอบไปด้วยเอนไซม์ที่จำเป็นที่มีส่วนช่วยในการหยุดผมร่วง และลดผมหงอกก่อนวัยได้ นอกจากนี้ในกะทิยังมี สารฟาโวนอยท์ (flavonoids) วิตามินอี และ ดี ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญของเส้นผมด้วย มะพร้าวเป็นสารจากธรรมชาติ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ไม่มีพิษ ไม่เป็นสารเคมี จึงไม่เป็นอันตรายหากจะใช้กับเส้นผมหรือหนังศีรษะ วิธีการใช้มะพร้าวในการบำรุงหนังศีรษะ ลดผมร่วง มีได้หลายตำรา ยกตัวอย่างเช่น

1..... การใช้กะทิ ควรใช้มะพร้าวแก่ ขูดมะพร้าว มาคั้นกะทิสด ๆ ใช้กะทิประมาณ 1 – 2 แก้ว ขึ้นอยู่กับความยาวของเส้นผม ชะโลมกะทิลงบนศีรษะและเส้นผม ทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่า (ยังไม่ต้องสระผมด้วยแชมพู) วิธีนี้จะทำให้น้ำมันมะพร้าวเคลือบอยู่บนเส้นผมได้นาน ทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมงหรือ 1 วัน แล้วค่อยสระผมด้วยแชมพูอีกครั้งในวันถัดไป วิธีนี้จะทำให้เส้นผมนิ่ม เรียบลื่นขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้ และจะเริ่มสังเกตได้ว่าผมร่วงลดลง ควรทำวิธีนี้อาทิตย์ละครั้ง แม้ว่าผมร่วงจะดีขึ้นแล้วก็ควรทำต่อเนื่องอย่างน้อย 2 – 3 อาทิตย์ต่อครั้ง วิธีนี้ไม่เฉพาะลดผมร่วงได้เท่านั้น แต่ยังทำให้เส้นผมมีสุขภาพดีขึ้นอีกด้วย ผมร่วงจะเริ่มสังเกตเห็นว่าลดลงเมื่อทำไปประมาณ 2 สัปดาห์ และได้ผลดีเมื่อทำไปแล้ว ประมาณ 2 เดือน อาจเพิ่มประสิทธิภาพโดยการใช้กะทิที่อุ่น ๆ

2...... อาจใช้น้ำมันมะพร้าวที่สกัดแล้ว ควรเลือกน้ำมันมะพร้าวที่ใช้วิธีสกัดเย็น เนื่องจากไม่มีการสูญเสียวิตามินธรรมชาติที่มีอยู่ในมะพร้าวไปกับความร้อนใน ขั้นตอนการสกัด ชะโลมที่บริเวณหนังศีรษะ และเส้นผมแล้วนวด สัปดาห์ละ 2 ครั้ง อาจทิ้งไว้ข้ามคืนแล้วล้างออกตอนเช้า การใช้นิ้วมือนวดหนังศีรษะจะช่วยกระตุ้นเส้นเลือดที่มาเลี้ยงหนังศีรษะได้ ด้วย

ฟลาโวนอยด์

เป็นสารในกลุ่มสารประกอบฟืนอลิค (phenolic compounds) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีเป็นวงแหวนอะโรมาติก (aromatic ring) ที่มีจำนวนหมู่ไฮดรอกซิล (Hudroxyl group) รวมอยู่ในโมเลกุล สามารถละลายน้ำได้ ส่วนใหญ่มักพบอยู่รวมกับน้ำตาล ในรูปของสารประกอบไกลโคไซต์ (glycoside) สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์มีสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระโดยทำหน้าที่ในการหน่วง เหนี่ยวหรือป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน จึงช่วยหยุดปฏิกิริยาลูกโซ่ของอนุมูลอิสระได้แหล่งอาหารที่พบฟลาโวนอยด์มาก ได้แก่ พืชผักและผลไม้ทั่วไป รวมทั้งเครื่องดื่มต่าง ๆ เช่น ชา ไวน์ เป็นต้น จะเห็นได้ว่า ในธรรมชาติมีสารต้านอนุมูลอยู่ในอาหารที่มาจากพืชมากมาย การรับประทานอาหารจำพวกพืชผักและผลไม้จึงทำให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูล อิสระมากขึ้นซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ตรงกันข้ามการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยให้ระบบ ภูมิคุ้มกันทำงานได้เต็มที่

สารประกอบฟีนอลิก( Phenolic Compound)

ทรงพล รดิศพงศ์
กรรณิการ์ บุตรเอก
ขนิษฐา อัศวชัยณรงค์

สารประกอบฟีนอลิกเป็นสารเคมีกลุ่มหนึ่งที่ถูกนำมาใช้กันอย่างมากในภาคเกษตรกรรมและ อุตสาหกรรม ในภาคอุตสาหกรรมสารประกอบฟีนอลิกถูกนำมาใช้เป็น intermediate ในการผลิตพลาสติกยา สี เรซิ่น และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ส่วนในภาคเกษตรพบว่าสารประกอบฟีนอลิกถูกนำมาใช้ในการผลิตยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อรา และยาป้องกันการติดเชื้อและอื่นๆ ดังนั้นเมื่อมีการใช้สารประกอบฟีนอลิกกันมากขึ้นย่อมเกิดผลกระทบต่อปัญหาทาง สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมทางน้ำเนื่องจากการปล่อยน้ำ ที่มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกมากกว่า 1 มิลลิกรัมต่อลิตร มีผลอย่างยิ่งในการทำลายคุณภาพของน้ำ และมีผลต่อสิ่งมีชีวิต ดังรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไป

ดังนั้นสารประกอบฟีนอลิก จึงถูกจัดเป็นสารมลพิษที่มีอันตรายมากที่สุดประเภทหนึ่งที่ E.P.A. (The US. Environment Protection Agency) ได้เสนอให้มีการควบคุมคุณภาพของน้ำโดยมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกได้สูงสุดไม่ เกิน 1 มิลลิกรัมต่อลิตร จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของน้ำว่ามีปริมาณสาร ประกอบฟีนอลิกอยู่ในระดับอันตรายหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยในการนำน้ำมาใช้ประโยชน์พิษของสารประกอบฟีนอลิก

1. ต่อสัตว์น้ำ เช่น ปลา เมื่อปลาได้รับสารพิษจะถูกกระตุ้นให้ระคายเคืองจนขาดการควบคุม ว่ายน้ำไม่มั่นคง ครีบจะสั่นเทา ในที่สุดจะเสียการทรงตัว หมุนรอบ ๆ และตายในที่สุด หรืออาจอยู่ในสภาพไร้ความรู้สึก โดย เฉพาะฟีนอล(Phenol) และครีซอล(Cresol) จะมีผลต่อการรบกวนประสาทอย่างสูง

2. ต่อสัตว์ชั้นสูงอื่น ๆ เช่นในกบ ไขสันหลังจะถูกรบกวนให้ระคายเคือง จนทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างรุนแรง ในที่สุดก็จะเป็นอัมพาต

3. ต่อมนุษย์ ถ้าระดับความเข้มข้นน้อย ๆ จะทำให้รู้สึกคลื่นเหียน วิงเวียน เสียการทรงตัว หายใจไม่สม่ำเสมอ ถ้ามีความเข้มข้นมาก ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งอย่างรุนแรง และทำให้หัวใจล้มเหลวในที่สุด

คุณสมบัติทางกายภาพของสารประกอบฟีนอลิก
สารประกอบฟีนอลิกเป็นอนุพันธ์ของเบนซินที่มีหมู่ไฮดรอกซิลต่ออยู่เป็นหลัก และอาจมีหมู่ แทนที่ต่าง ๆ แทนที่ในตำแหน่ง ออโท(orto) เมตา(meta) หรือพารา(para) ได้อีก สารฟีนอลิกตัวพื้นฐานคือ ฟีนอล ประกอบด้วยวงแหวนเบนซิน 1 วง และหมู่ไฮดรอกซิล 1 หมู่ มีมวลโมเลกุล 94.11 เป็นผลึกรูปเข็ม ไม่มีสี เมื่อโดนอากาศจะมีสีชมพูอ่อน ๆ จุดหลอมเหลว 40.85oc จุดเดือด 182o c จุดวาบไฟ 79oc สารละลายของฟีนอลเป็นกรดอ่อน โดยมีค่า pKa 10.0 ฟีนอลละลายได้ในกลีเซอรอลคาร์บอนไดซัลไฟด์ อัลกอฮอล์ อีเธอร์ และคลอโรฟอร์ม สำหรับสารประกอบฟีนอลิกตัวอื่น มีสมบัติ
ทางกายภาพ ดังแสดงในตารางที่ 1

ปฏิกิริยาของสารประกอบฟีนอลิกที่น่าสนใจ
สารประกอบฟีนอลิกสามารถเกิดปฏิกิริยาได้หลายปฏิกิริยา เช่น
1. ปฏิกิริยาการเตรียมแบบวิลเลียมสัน (Williamson synthesis) เตรียมอีเทอร์จากฟีนอลโดยให้ทำปฏิกิริยากับอัลคิลเฮไลด์ (Alkylhalide) ที่สภาวะที่เป็นเบส
2. ปฏิกิริยาการเกิดเอสเทอร์ ( Ester formation) โดยฟีนอลทำปฏิกิริยากับแอซิดคลอไรด์ (Acidchloride) หรือแอซิดแอนไฮไดด์ (Acid anhydride) แล้วให้เอสเทอร์
3. ปฏิกิริยาการแทนที่อิเลคโตรฟิลิกอะโรมาติก (Electrophelic substitution) จะเกิดการแทนที่ที่ตำแหน่ง ออโท และพารา
4. ปฏิกิริยาไนโตรเซชั่น (Nitrosation reaction) จะเกิดการแทนที่ที่ตำแหน่งออโท และพารา
5. ปฏิกิริยาคับปลิงกับเกลือไดอะโซเนียม (Coupling reaction with diazonium salts) ฯลฯ

view