ศึกษาวิจัยการใช้ผักกาดน้ำ (Rorippa sp) เพื่อควบคุมวัชพืช
รายงานเรื่องเต็มผลการทดลองที่สิ้นสุด ปีงบประมาณ 2549
1. ชื่อแผนงานวิจัย การศึกษาและพัฒนาอารักขาพืช
2. ชื่อโครงการวิจัย วิจัยเทคโนโลยีการผลิตและการใช้สารสกัดจากพืชทดแทนสารเคมี
กิจกรรม . ..... วิจัยพัฒนาการใช้สารจากพืชควบคุมวัชพืช
กิจกรรมย่อย ....... วิจัยพัฒนาการใช้สารจากพืชควบคุมวัชพืช
3. ชื่อการทดลอง วิจัยและพัฒนาสารสกัดจากพืชเพื่อควบคุมวัชพืช
(Research and Development of Plant Extract for Weed Control)
การทดลองย่อย ศึกษาวิจัยการใช้ผักกาดน้ำ (Rorippa sp) เพื่อควบคุมวัชพืช
(Research for Application of Allelopathic Substance in Rorripa sp for Effective Weed
Control)
4. คณะผู้ดำเนินงาน
หัวหน้าโครงการวิจัย นางชอุ่ม เปรมัษเฐียร สังกัดสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
หัวหน้าการทดลอง นางชอุ่ม เปรมัษเฐียร สังกัดสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ผู้ร่วมงาน (การทดลอง) นางสาวศิริพร ซึงสนธิพร สังกัดสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
5. บทคัดย่อ
- ผักกาดน้ำที่พบทั่วไปมากมีสองชนิด คือผักกาดน้ำ หรือผักกาดนำ (Rorippa dubia) และผักกาดน้ำดอกเหลือง (Rorippa indica)
- การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพเบื้องต้น ด้วยวิธี sandwich method พืชทั้งสองชนิด ให้ผลการยับยั้งในทางเดียวกันและใกล้เคียงกัน แต่คือผักกาดน้ำดอกเหลืองสามารถยับยั้งการเจริญเติบโต ของพืชทดสอบได้มากกว่าทั้งพืชสดและพืชแห้ง และส่วนของใบให้ผลในการยับยั้งมากกว่าราก และต้น
ตัวทำละลายในการสกัด ชนิดต่างๆ คือ Benzene, normal hexane, ethyl acetate, 70% methanol, 70% ethyl alcohol, dichloromethane, acetone, butanlol, น้ำร้อน และน้ำเย็น ปรากฏว่า.....
การสกัดด้วยเมทานอล 70% ให้ผลการยับยั้งการเจริญรากของพืชทดสอบได้ดีที่สุด รองลงมาคือน้ำ
สารสกัดจากผักกาดน้ำดอกเหลืองต่อการงอกและการเจริญเติบโตของวัชพืชชนิด ต่างๆ ในห้องปฏิบัติการ จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ ไมยราบเครือ(Mimosa invisa Mart.) ไมยราบยักษ์ (Mimosa pigra L.) กระเฉดต้น (Neptunia sp.) กระเพาผี (Hyptissuaveolense ) โสนขน (Aeschynomene Americana ) ถั่วผี (Phaseolus lathyroides) หญ้าปากควาย (Dactyloctenium eagyptium ) หญ้าขจรจบดอกเล็ก (Pennisetum polystachyon ) หญ้าขจรจบดอกใหญ่ (Pennisetm pedicellatum) ปรากฏว่า.....
สารสกัดจากผักกาดน้ำดอกเหลือง อัตราเทียบเท่าสกัดจาพืชแห้ง 1 กรัม สามารถยับยั้งการงอกของพืชทดสอบ เช่น ถัวผี หญ้าปากควาย ได้ดี แต่ที่อัตราต่ำ คือเทียบเท่าสกัดจากพืช 0.1 กรัม ทำให้ถั่วผี และหญ้าปากควายงอกได้มากกว่าชุดควบคุม โดยอัตราที่สามารถยับยั้งการเจริญของพืช ทดสอบได้สูงสุดคือ เทียบเท่าสกัดจากพืช1.0 กรัม ในน้ำ 5 มิลลิลิตร
การนำไปใช้ประโยชน์ :
จากผลที่ได้ดังกล่าวนี้ จะต้องศึกษาการออกฤทธิ์ของสารเหล่านี้ต่อวัชพืชที่เจริญเติบโตในดิน ความเข้มข้นที่ออกฤทธิ์ อายุของวัชพืชที่ไวต่อสารนี้ อายุการออกฤทธิ์ของสาร เพื่อจะได้ เป็นทางเลือกให้เกษตรกรนำไปใช้ เพื่อลดการใช้สารเคมีสังเคราะห์
ผักกาดน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plantago magor Linn. (P. indica Linn.)
ชื่ออื่น ๆ : หมอน้อย, เชียแต้เฉ้า, หญ้าเอ็นอืด, หญ้าเอ็นยืด , Common Plantain
วงศ์ : PLANTAGINACEAE
ลักษณะทั่วไป
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ที่มีเนื้ออ่อน โคนต้นจะอยู่ติดดินเลย เป็นไม้ที่มีอายุได้หลายปี ลำต้นจะสูงไม่เกิน 1 ฟุต
ใบ : จะแทงขึ้นมาจากดินคล้ายกับใบผักกาด แต่จะมีก้านใบยาวกว่า แผ่นใบหนาเมหือนกนับผักคะน้า และกว้าง ลักษณะของใบคล้ายช้อนสังกะสีขนาดใหญ่ แตกใบออกรอบ ๆ ต้น
ดอก : ออกเป็นช่อ ชูขึ้นมาจากกลางก่อ ช่อดอกจะยาวและดอกนั้นมีขนาดเล็ก แห้ง มีสีเขียวอมน้ำตาล แต่จะไม่มีก้านดอก
ผล : เมื่อแก่หรือสุกเต็มที่จะแตกตรงกลางผล
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบดินที่มีส่วนผสมพิเศษและขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น
สรรพคุณ
ทั้งต้น ใช้ปรุงเป็นยาโดยผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ซึ่งได้แก่พวก ว่านกาบหอย กล้วยหอมดิบ สนหมอก รากบัวหลวง ดอกเก๊กฮวย ฯลฯ นำไปต้มกับน้ำตาลกรวด เพื่อแก้ร้อนในเจ็บคอ เป็นยาเย็น ขับปัสสาวะ ส่วนใบของต้นนั้นมีฤทธิ์ในการห้ามเลือด แต่จะห้ามเฉพาะภายนอกเท่านั้นภายในห้ามไม่ได้ ใช้ใบขยี้ทางอาการอักเสบของผิวหนัง ตำพอกแก้แผลเรื้อรังหรือผิวหนังอักเสบ ใช้ทาเมื่อถูกแมลงกัดต่อย
สารเคมีที่พบ : ภายในใบจะมีสารไกลโคไซด์ ชาไปนิน และสารที่มีรสขมและเมล็ดมี 0.183 % ของ holoside planteose
ขอขอบคุณ ลุงคิม http://www.kasetloongkim.com