สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ความเป็นมาของภาษาระยอง

ข้อมูลทั้งหมดได้มาจากเว็บไซต์ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระยองโดยผู้นำเสนอได้ปรับเปลี่ยนบางเนื้อหาเพื่อความเหมาะสม http://www.rayong-culture.org

ความเป็นมา

                จังหวัดระยอง  เป็นจังหวัดสำคัญจังหวัดหนึ่งทางภาคตะวันออกของอ่าวไทย  สมัยก่อน  ดินแดนทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย  ซึ่งปัจจุบันได้แก่  จังหวัด  จันทบุรี  ปราจีนบุรี  บางพื้นที่  จังหวัดตราด  จังหวัดระยองเป็นดินแดนของพวก  ชอง”  ผู้ชำนาญการอยู่ป่าเขาลำเนาไพร  ดังนั้นกล่าวกันว่าตั้งแต่ตัวเมืองระยอง  อำเภอบ้านค่ายและอำเภอแกลง  จังหวัดระยอง  จึงเป็นถิ่นของชองมาก่อน  เราจึงรับภาษาพูดมาเป็นภาษาเขียนยากในปัจจุบัน

                ตามข้อเขียนเรื่อง  อาณาจักรชอง”  ของ  คุณนพกาญจน์  สนั่นไหว”  และของ         พระพิพัฒน์ปริยัตยานุกูล”  วัดชากมะกรูด  ตำบลกร่ำ  อำเภอแกลง  จังหวัดระยอง  คำว่า  ระยอง”  มีรากเง่ามาจากภาษาชอง  เพราะจังหวัดระยอง  (ตำบลท่าประดู่มีต้นประดู่มาก  อาจมีต้นประดู่เป็นทิวแดน  (เขตแดนมองเห็นที่เรียกกันว่า  สดมภ์”  หรือ  ชายสดมภ์”  ดังความหมายของคำแต่ก่อน  จึงมั่นใจว่าคำ  ระยอง”  เพี้ยนมาจากชื่อต้นปะดู่ของภาษาชองก็น่าจะเป็นได้แต่ถ้าศึกษาประวัติศาสตร์ลึกลงไปถึงดินแดนสุวรรณภูมิทวาราวดี  ซึ่งไทยเรามีความสัมพันธ์กับเขมรชาวชองก็คือ  ชาติพันธุ์มาจากเขมรกับมอญ  ดังนั้นจึงเป็นที่เข้าใจยากเพราะเขมรมีภาษาเขียนแต่โบราณชาวชองมีภาษาพูด  และหากินทำสวนไร่ชายป่า  ครั้งหนึ่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง  นายขวัญชัย  วศวงศ์ (ปัจจุบันได้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นแล้วได้พาไปพบ  คุณอธึก  สวัสดิมงคล       ผู้อาวุโสที่ชาวชลบุรีเคารพนับถือ  คุณอธึกได้ถามข้าพเจ้าว่า  คำว่าระยอง”  มาจากภาษาใด  ข้าพเจ้าก็ได้ชี้แจงตามความเห็นที่กล่าวข้างต้น  ท่านก็ว่าลองไปศึกษาค้นคว้ากันให้แน่ชัดซิ  ข้าพเจ้าก็ต้องเฉยยอมรับฟัง  ครั้งเมื่อข้าพเจ้าได้มีโอกาสเข้าค่ายอบรมของสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย  รุ่นที่  ๙  ที่เขื่อนศรีนครินทร์  เมื่อ  ๑๗๑๙ ธันวาคม  ๒๕๔๐  มีรายการทัศนศึกษาปราสาทเมืองสิงห์  จังหวัดกาญจนบุรี  ได้ประพันธ์นิราศประสาทเมืองสิงห์  เมื่อได้ศึกษาประวัติแล้วฉุกคิดถึงคำ  ระยอง”  ซึ่งศึกษาธิการจังหวัดระยอง  นายสุวรรณ  พรหมณา  ได้เคยรวบรวมคำหลายคำ  ถาม  นักวิชาการจังหวัดศรีสะเกษ  ซึ่ง  นายเกษมสุข  แผ่นงา  นักวิชาการได้ให้ความคิดว่าระยอง  เป็นจังหวัดชายทะเลมีหอยมาก  เขมรเรียกหอยว่า  คะยอง”  พูดเร็วๆ อาจกลายเป็น  ระยอง”  ก็เป็นได้

          จึงทำให้ผู้เขียนคิดถึงอดีตว่า  บริเวณใกล้ๆ  วัดบ้านดอน  อำเภอเมืองระยองด้านเหนือวัด  มีหนองชื่อ  “อู่ตะเภา”  ชายฝั่งคลองเมื่อ  ๕๐  ปีก่อน  น้ำเซาะตลิ่งเห็นมีเปลือกหอยฝังอยู่ในดินตลอดแนว  และในฝั่งตรงข้ามทางทิศตะวันออก มีคลองไหลมาสู่คลองใหญ่ชื่อ  “คลองน้ำเค็ม”  ส่วนคลอง  (แม่น้ำระยอง ทางใต้วัดมีรอตาหวลซึ่งน้ำแทงเซาะ  เจ้าของนาต้องปักรอกันตลิ่งพัง  ชายตลิ่งก็มีแต่เปลือกหอย  พวกเด็กเล่นน้ำคลองไม่กล้ากระโดดเล่น  กลัวเปลือกหอยบาดเท้า  ลงมาทางใต้อีกมีชื่อเรียก  “วังญี่ปุ่น”  แสดงว่าก่อนนั้นติดทะเลมีหอยชุกชุม  “ระยอง”  อาจเพี้ยนมาจาก     “คะยอง”  ภาษาเขมร  อยากจะเรียกให้ท่านอธึก  สวัสดิมงคล  ทราบว่าตรงกับแนวคิดของท่านหรือไม่เผอิญท่านเสียชีวิตไปก่อน  จึงนำมากล่าวไว้ให้รับทราบอีกแนวทางหนึ่งชาวชองสื่อสารกันด้วยภาษาพูดคละเคล้ากันอยู่ในภาษาถิ่นระยอง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับสำเนียงแต่ละท้องถิ่นดังกล่าวข้างต้น

แต่ก่อนเด็กระยองมักจะถูกล้อเลียนหรือเย้าเล่นว่า

แกงไก่ใส่มะเขือเม่ด  แกงเผ็ดบ้านเก่า  ข้าวเม่ายายคำ  ดื่มน้ำมะเน่ด

ไปเที่ยวพนั่ส  ทางมันค่ด  ร่ถมันฟั่ด  ปลูกสำมะร่ดยังไม่ทันลั่ดควายมันยั่ดเช่ด

ไปล่อเบ็ดหมดสนุก  ตกกะหลุกขาเคล่ด….”  จะพูดเสียงหนัก  (เหน่อ คำที่ใช้ไม้ไต่คู้  จะใส่วรรณยุกต์เอกลงไปแทนจึงจะได้สำเนียงถูกต้อง

          นอกจากสำเนียงแล้ว  คำที่นำไปใช้มีความหมายต่างออกไป  ตามตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น  “มะเขือเม่ด”  คือมะเขือพวง  “สำมะร่ด”  ก็คือสับปะรด  “ยั่ด”  ก็มีความหมายว่ากิน  “ล่อเบ็ด”  ก็คือเบ็ดล่อ  “กะหลุก”  ก็คือหลุมเล็กๆ  เช่น  “เอาได้”  ถ้าคนจังหวัดอื่นมาพบหญิงสาวชาวระยองรู้สึกพอใจ  และถามคนระยองว่า  “ผู้หญิงคนนี้เป็นอย่างไร”  ชาวระยองมักจะตอบว่า  “เอาได้”  คำว่า  “เอาได้ ของชาวระยอง  หมายถึง  มีสรรพคุณเป็นคนสวย  มารยาทดีงามพอใช้  ขออย่าได้คิดเป็นอย่างอื่น  และคำที่มีความหมายว่า  “มาก”  ของชาวระยองก็มีมากคำที่ใช้พูดกัน  เช่น  พอแรง  ,   นักนั่ก  ,  บานเต  ,  บานตะเกียง  ,  บานเบอะ  ,  เต็มตำ  ,  เต็มปึ้ด  ,  มากส..  ฉันไปเที่ยวทั้งวันสนุกส....  (ลากเสียงยาว ก็หมายความว่าเที่ยวกันสนุกมาก

          เนื่องจากจังหวัดระยองเป็นเมืองอุตสาหกรรม  ผู้คนต่างจังหวัดอพยพมาประกอบอาชีพมากมาย  ขนย้ายครอบครัวมาทำมาหากิน  สนใจที่จะศึกษาภาษาถิ่นเพื่อดำรงชีวิต  จึงเป็นจุดเด่นควรอนุรักษ์  อนุชนรุ่นหลังเกิดความภูมิใจในภาษาตนและไม่คิดละอายเหมือนแต่ก่อน  จึงได้พยายามค้นคว้าหาคำมาเพิ่มเติมขอขอบพระคุณผู้ที่ให้ความร่วมมือและผู้ที่สนใจศึกษา  เพื่อให้เป็นประโยชน์และควรอนุรักษ์สืบต่อไป

view