สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

โมลิบดีนัม-ส่วนประกอบสำคัญของป่า


โมลิบดีนัม(Molybdenum; Mo) โลหะเรืองแสง คล้ายเงิน พบในดิน หิน ในน้ำทะเล และเป็นส่วนประกอบในเอนไซม์ที่มีผลต่อสุขภาพของมนุษย์ ธาตุชนิดนี้พบได้ในดาบของชาวญี่ปุ่นในสมัยศตวรรษที่ 14 โมลิบดีนัมมีความแข็งแรงสูง มีการนำไฟฟ้าดี และมีคุณสมบัติต้านการกัดกร่อนทำให้โมลิบดีนัมเป็นที่ต้องการในการนำไปใช้ เป็นเครื่องยนต์ของจรวด เกราะป้องกันรังสี ไส้หลอดไฟฟ้า และแผ่นวงจรไฟฟ้า

นอกจากคุณสมบัติเหล่านี้แล้ว มันยังมีบทบาทสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยเมื่อเร็วๆนี้ทีมนักวิจัยนำโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันพบ ว่าการดูดซับก๊าซเรือนกระจกของป่าดิบชื้น ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่สำคัญของโลกขึ้นอยู่กับปริมาณของธาตุโมลิบดีนัมที่จับ กับไนโตรเจนในการทำให้พืชในป่าเติบโตด้วย และไนโตรเจนดังกล่าวก็เกิดจากแบคทีเรียขนาดเล็กที่จับไนโตรเจนในอากาศแล้ว เปลี่ยนให้เป็นปุ๋ยในดิน รายละเอียดของผลการศึกษานี้ได้รับการตีพิมพ์ออนไลน์ใน Nature Geoscience

นอก จากคุณสมบัติเหล่านี้แล้ว มันยังมีบทบาทสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยเมื่อเร็วๆนี้ทีมนักวิจัยนำโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันพบ ว่าการดูดซับก๊าซเรือนกระจกของป่าดิบชื้น ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่สำคัญของโลกขึ้นอยู่กับปริมาณของธาตุโมลิบดีนัมที่จับ กับไนโตรเจนในการทำให้พืชในป่าเติบโตด้วย และไนโตรเจนดังกล่าวก็เกิดจากแบคทีเรียขนาดเล็กที่จับไนโตรเจนในอากาศแล้ว เปลี่ยนให้เป็นปุ๋ยในดิน รายละเอียดของผลการศึกษานี้ได้รับการตีพิมพ์ออนไลน์ใน Nature Geoscience

จนถึงปัจจุบันนี้ นักวิทยาศาสตร์คิดว่าฟอสฟอรัสเป็นธาตุหลักในการขยายพื้นที่ของป่าดิบชื้นแต่ จากการทดสอบของศาสตราจารย์ Lars Hedin ศาสตราจารย์ด้านนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันในการหาผลที่เกิดขึ้นของ ธาตุต่างๆในป่าดิบชื้นที่ปานามาพบว่าพื้นที่ ที่มีโมลิบดีนัมจะดึงไนโตรเจนจากอากาศมากกว่าธาตุอื่นๆ ศาสตราจารย์บอกว่า การทดสอบนี้ได้ผลที่น่าประหลาดใจมากและอยู่นอกเหนือความคาดหมายมาก

โมลิบดีนัม มีความสำคัญในการเป็นตัวควบคุมการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของไนโตรเจนใน บรรยากาศให้เป็นปุ๋ยไนโตรเจนที่อยู่ในดินช่วยกระตุ้นให้พืชเติบโตอย่างรวด เร็ว เปรียบได้กับวิตามินที่ช่วยให้ร่างกายของคนเราแข็งแรง ธาตุชนิดนี้ก็มีความจำเป็นต่อป่าดิบชื้นซึ่งเป็นชีวิตของโลกด้วยเช่นกัน แม้ว่าปริมาณของแร่ชนิดนี้จะมีน้อยกว่าฟอสฟอรัสหนึ่งหมื่นเท่าและน้อยกว่า ธาตุอื่นๆมาก

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าการค้นพบนี้มีผลทางนัยกับนโยบายด้านสภาพอากาศของโลก ที่เปลี่ยนแปลงไป ก่อนหน้านี้นักวิจัยยังไม่ทราบความสามารถของป่าดิบชื้นในการดูดซึมก๊าซ เรือนกระจก หากโมลิบดีนัมเป็นตัวกลางของกระบวนการชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ การดูดซับคาร์บอกไดออกไซด์โดยป่าดิบชื้นก็อาจจะมีขีดจำกัดได้

view